สวัสดีครับท่านลูกค้า "เกร็บไทยโก" ยินดีต้อนรับและให้บริการ มาแล้วครับ "กระยาสารทสูตรดั้งเดิม" จะสั่งไปทำบุญ เป็นของฝากหรือทานเอง ก็อร่อยได้ทุกที่ทุกเวลา "กระยาสารท" ขนมแห่งงานบุญ ขนมอร่อยที่อยู่คู่กับวิถีไทยมายาวนาน ยังคงความอร่อยอย่างมีคุณค่า จะทานเป็นของว่างคู่กับการจิบชากาแฟก็เพลินใจ มีคุณค่าทางโภชนาสูง ให้พลังใจและพลังงานต่อร่างกาย สั่งง่าย ส่งถึงบ้าน ราคาย่อมเยาว์ สดใหม่ จัดส่งไว รวดเร็วทันใจ ขนมไทยอร่อยๆ พกพาสะดวก อยู่ที่ไหนก็อร่อยได้ ขนมไทยแท้ต้นตำหรับ อร่อย สะอาดได้มาตราฐาน อย. บรรจุภัณฑ์ที่ล้ำสมัยทำให้คงความอร่อยจนท่านเปิดทานและสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานกว่า 6 เดือน เลยล่ะครับ สนใจกดลิ้งก์เข้ารับชมสินค้าและรายละเอียดจากทางร้านได้เลย ขอบคุณครับ
ตักบาตรกับแม่
ตอนเป็นเด็กแม่จะพาผมตักบาตรเป็นประจำทุกเช้า อาหารเป็นแบบง่ายๆทำเอง แม่จะตักข้าวที่หุงและอาหารที่ทำให้พระก่อน ที่เหลือจากนั้นพวกเราก็ทานกัน เป็นอย่างนี้ทุกวัน ตั้งแต่เด็กยันโต แม่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดถวายพระ โดยเฉพาะ "ขนมกระยาสารท" ถ้าไปได้จากร้านในตลาดมาต้องนำมาถวายพระ ทำให้ผมเห็นภาพบางอย่างของคนสมัยก่อนกับคนสมัยนี้ สมัยนี้สังคมเปลี่ยนแปลงไปมากมาย การไปตักบาตรสักครั้งถือเป็นเรื่องใหญ่ ต้องเตรียมการกันสารพัดดูยุ่งยากไปหมด ทำให้คนในสมัยนี้ห่างเหินจากวัดมากๆ สิ่งที่แม่ผมทำก็ไม่แตกต่างจากคนในสมัยนั้นเลย เพราะแทบทุกบ้านจะต้องตื่นขึ้นมาทำกับข้าวกับปลาเพื่อมาตักบาตร เป็นกิจวัตรประจำวันที่ขาดไม่ได้เลย
กระยาสารท วิถีไทย
อาหารเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาตินั้นๆ เป็นสัญลักษณ์ เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ "ขนมกระยาสารท" ถือเป็นขนมที่มีตำนาน มีวืถีความเป็นมาควบคู่กับคนไทยมานานแสนนาน การทำบุญในเทศกาลต่างๆ พิธีกรรมสำคัญ "ขนมกระยาสารท" จะต้องมีส่วนร่วมอยู่ด้วยเสมอ อย่างเช่นการทำบุญใน "วันสารทไทย" วิถีของ "ขนมกระยาสารท" ยังคงดำเนินต่อไปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและมุ่งสู่อนาคต
กระยาสารท โอทอป
"ขนมกระยาสารท" เป็นขนมอร่อยขึ้นชื่อของหลายๆจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ผมอยู่ใกล้จังหวัดอยุธยาที่มีร้านขนมไทยโบราณขึ้นชื่ออยู่หลายเจ้า มีร้าน "ขนมกระยาสารท" ที่เป็นโอทอป ทุกเจ้าล้วนมีความอร่อยเด็ด ได้ทานแล้วต้องติดใจ สินค้าไทยหลายๆชนิดผมว่าดีและมีคุณค่า ถ้าเราทำเรื่อง "โอทอป" ให้เป็นจริงเป็นจัง ภูมิใจกับสินค้าของเราเองจะทำให้การค้าขายของเราดีเงินทองหมุนเวียนอยู่ในประเทศ ดูอย่าง "ประเทศญี่ปุ่น" โอทอปของเขาเข้มแข็งมากเพราะความเป็นชาตินิยมที่เขาฝังรากลึกในใจมายาวนาน
"กระยาสารท โอทอป"
ตลาดท่าดินแดง
"ตลาดท่าดินแดง" ตลาดเก่าแก่ที่มีของขายแทบทุกอย่าง เป็นตลาดและเป็นที่เดินเที่ยวแถบกลางเมืองได้เลย โดยเฉพาะคนที่ชอบทาน ที่นี่มีทั้ง ขนมนมเนย ของคาว ของหวาน "กระยาสารท เจ้าเก่าแก่" ที่ใครๆก็รู้จัก "ร้านเจ๊หมวย" ก็ขายอยู่ที่นี่ เป็น "กระยาสารท" เจ้าอร่อยอีกเจ้าที่ผมอยากแนะนำ ถ้าไปที่ "ตลาดท่าดินแดง" ลองแวะไปชิมกันดูได้ครับ "เจ๊หมวย" กวน "กระยาสารท" มาเกิน 30 ปีแล้ว บอกเลย ฝีมือขั้นเทพสาน "กระยาสารท" ครับ
"กระยาสารท ตลาดท่าดินแดง" "กระยาสารท เจ๊หมวย"
อยุธยา น่าท่องเที่ยว
อยุธยาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ไม่ไกลกรุงเทพฯมากนัก สำหรับท่านที่จะท่องเที่ยวแบบไปกลับในวันเดียว มีโบราณสถาน วัดวาอาราม ศิลปหัตถกรรม ของกินอร่อยๆมากมาย ล่องเรือชมสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดอยุธยายังดูเป็นบรรยากาศแบบเมืองเก่าๆ ผมชอบไปขับรถชมเมือง แล้วก็แวะหาของทาน บ้านผมอยู่คลองห้า ขับรถออกไปทางมอเตอร์เวย์ ครึ่งชั่วโมงก็ถึงแล้ว ที่อยุธยามีร้านขนมนมเนย ของคาว ของหวาน มากมาย แต่ที่อยากจะแนะนำคือ "กระยาสารท" เป็น "กระยาสารท เจ้าเก่าแก่" ชื่อ "กระยาสารท แม่สังเวียน" เป็น "กระยาสารท เจ้าอร่อย" ของอำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา "แม่สังเวียน" กวน"กระยาสารท" มาเกิน 30 ปีแล้วครับ
"กระยาสารท เจ้าเก่าแก่" "กระยาสารท แบบดั้งเดิม"
ขนมแม่ชม บางบ่อ
อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นแหล่ง "ปลาสลิด" ปลาสลิดขึ้นชื่อต้อง "ปลาสลิดบางบ่อ" มาแถมนี้ก็ไม่ไกลจากกรุงเทพฯเท่าไหร่ ท่านที่ต้องการท่องเที่ยวแบบเดินทางไปกลับมาเที่ยวที่ "สมุทรปราการ" ก็สะดวกดีครับ ที่นี่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ลองหาในกูเกิ้ลแม๊พจะออกมาให้ดูเพียบเลย ที่ผมพอจำได้คือ "เมืองโบราณ" และ "ฟาร์มจรเข้" อีกที่นึงก็ "สถานที่ตากอากาศบางปู" ที่นี่มีนกนางแอ่นเยอะ แล้วก็อย่าลืมแวะที่ "บางบ่อ" มาทานขนมอร่อยๆของ "ร้านแม่ชม บางบ่อ" บอกเลยว่า "กระยาสารทเจ้านี้ "อร่อยมากๆ" เพราะผ่านประสบการณ์ "กวนกระยาสารท" มากว่า 60 ปีแล้วครับ
ท่องเที่ยวไทย
แหล่งท่องเที่ยวในบ้านเรามีมากมายหลากหลาย ทั้ง ป่า ภูเขา น้ำตก ทะเล เกาะ แก่ง ที่เที่ยวทางธรรมชาติอันงดงาม ชมธรรมชาติตากอากาศ แถมยังมีโบราณสถานที่งดงาม วัฒนธรรม ประเพณี ต่างๆที่ดึงดูให้ชาวต่างชาติอยากเดินทางมาท่องเที่ยวในเมืองไทย เรื่องของที่พัก บริการอันเยี่ยมยอด อาหารการกินที่หลากหลายอุดมสมบูรณ์ อาหารไทย ผลไม้ไทย และขนมไทยที่แสนอร่อย ถ้ามาในช่วง "วันสารทไทย" คงได้ชิม "ขนมกระยาสารท" อีกด้วย
กระยาสารท ขนมไทยสำหรับงานบุญ
ผมได้อ่านเรื่องราวจากรายงานการดำเนินงาน โครงงานจัดทำฐานข้อมูลด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลวังหามแห อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร มีความระเอียดในเรื่องราวของ "กระยาสารท ขนมไทยสำหรับงานบุญ" อยากให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้จึงนำมาลงให้ท่านได้อ่านกันครับ"ขนมกระยาสารทเป็นขนมโบราณ" มีความพิเศษตรงที่เป็นขนมสำหรับงานบุญประเพณีของไทย เรียก
ได้ว่าเป็นขนมที่มีประเพณี และวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว จนอาจจะทำให้หลายคนนึกสงสัยขึ้นมาได้ ว่าทำไมขนมกระยาสาทรหอมหวานที่เป็นแพเหนียวๆ นี้ จึงมีความสำคัญมากเสียจนต้องจัดพิธีทำบุญด้วยขนมกระยาสารทด้วยนะ เอาเป็นว่าเรามารู้ประวัติของขนมกระยาสารทไปพร้อมๆกัน
แม้ขนม "กระยาสารท"จะเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่ "สมัยกรุงสุโขทัย" แต่รากศัพท์ของคำว่าสารทจริง ๆ
แล้วเป็นคำในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับฤดูการผลิดอกออกผลของพืชพันธุ์ โบราณจึงถือกันวาควรจะนำผลผลิตเหล่านั้นมาถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นการสักการะ และขอพรให้พืชของตนออกดอกออกผลดกดี และประเพณีนี้ก็มีในแถบประเทศจีนและตอนเหนือของยุโรปด้วย แต่ส าหรับไทยแล้วประเพณีนี้มาแพร่หลายในช่วงสมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับพราหมณ์ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย แต่ช่วงเวลาของประเพณีตามอินเดีย เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับระยะข้าวเริ่มออกรวงของไทย ชาวบ้านจึงเกี่ยวข้าวที่ยังมีเปลือกอ่อน ๆ และเมล็ดยังไม่แก่ เอามาคั่วแล้วตำให้เป็นเมล็ดข้าวแบน ๆเรียกว่า "ข้าวเม่าแทน"
ส่วนตำราความเชื่อของขนมกระยาสารทมีอยู่ 2 ตำราด้วยกัน
ตำราหนึ่งกล่าวว่า มีพี่น้องอยู่สองคนชื่อ มหากาลผู้พี่ และจุลกาลผู้น้อง ทั้งสองทำการเกษตรกรรมร่วมกันคือ ปลูกข้าวสาลีบนที่ผืนเดียวกัน จุลกาลนั้นเห็นว่าข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย ก็เลยอยากนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ จึงปรึกษากับมหากาลพี่ชาย แต่มหากาลไม่เห็นด้วย มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ต่างคนต่างนำข้าวไปใช้กิจอันใดก็ได้ จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่า แล้วต้มกับน้ำนมสดใส่เนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายกรวด เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์ จุลกาลได้ทูลความปราถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า ขอให้ตนบรรลุธรรมวิเศษก่อนใคร และเมื่อกลับบ้านไป ก็พบว่านาข้าวสาลีของตนนั้นออกรวงอุดมสมบูรณ์สวยงาม จนเก็บเกี่ยวไป 9 ครั้งก็ยังอุดมสมบูรณ์อยู่อย่างนั้นตลอดไปอีกตำนานหนึ่งเล่าว่า สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีเปรตตนหนึ่งปลอมตัวเป็นพระสงฆ์เข้าเฝ้าพระเจ้าอาชาติศัตรู เปรตตนนั้นได้เผยความจริงว่า ตนเคยเป็นพระสงฆ์แต่มีความโลภจึงต้องชดใช้กรรมเป็นเปรต แล้วเปรตตนนั้นก็ขอให้พระองค์พระราชทานกระยาสารท ซึ่งปรุงแต่งด้วยของ 7 อย่าง ได้แก่ น้ำตาล น้ำผึ้ง ถั่ว งา ข้าวตอก ข้าวเม่า น้ำนมวัว เพื่อประทังความหิวโหย ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นตรงซึ่งกับวันแรม 15 ค่ า เดือน 10 พระเจ้าอชาตศัตรูจึงทำขนมกระยาสารทแล้วกรวดน้ำอุทิศให้แก่เปรตตามที่ขอไว้
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมื่อถึงวันแรม 15 ค่ า เดือน 10 ซึ่งตรงกับเดือนกันยายน ชาวบ้านจะกวนกระยาสารทมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว จนกลายเป็นประเพณีสารทไทย หรือ "เทศกาลกวนขนมกระยาสารท" จนถึงทุกวันนี้นั่นเอง
กระยาสารท
"กระยาสารท" เป็นอาหารที่ทำให้ฤดูสารท กระยาสารทนี้เนื่องมาจาก ข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นอาหารอินเดียใช้ข้าว น้ำตาล น้ำนม ผสมกัน ซึ่งนางสุชาดาหุงถวายพระพุทธเจ้าส่วนผสมของกระยาสารทไทยมีข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่วลิสง งาคั่วให้สุกเสียก่อน แล้วน ามากวนกับน้ าอ้อยกวนให้เหนียวกรอบเกาะกันเป็นปึก จะทำเป็นกรอบเป็นก้อนหรือตัดเป็นชิ้นๆ เก็บไว้ได้นานทำจากพืชผลแรกได้กระยาสารทเป็นของหวานจัด โดยมากจะกินกับกล้วยไข่สุก ทำถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว กระยาสารทกำหนดทรงบาตรที่วิเศษ ในการพระราชพิธีสารทนี้ตกทอดกันมานานแล้วตามความเชื่อถือ คนผู้นับถือพระพุทธศาสนาจะพากันหยุดงาน ตระเตรียมสิ่งของทำบุญที่เรียกว่ากระยาสารทเป็นของหวาน ประจำเทศกาลสารท นิยมทำกันก่อนวันสิ้นเดือนเป็นวันโกน วันแรม 14 ค่ า เดือน 10 นี้ความหมายของกระยาสารท
กระยาสารทคือสารท เทศกาลทำบุญสิ้นเดือนสิบ เดิมเป็นฤดูทำบุญด้วยเอาข้าวที่กำลังท้อง (ข้าวรวงเป็นน้ านม) มาทำยาคูและกวนข้าวปายาสเลี้ยงพราหมณ์ อย่างนี้เรียกว่า กวนข้าวทิพย์ส่วนผู้นับถือพุทธศาสนานำคตินั้นมาใช้ แต่เปลี่ยนเป็นถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติในปรโลก สำหรับชาวบ้านทั่วไปมักทำแต่ "กระยาสารท" เป็นต้นความเป็นมาของกระยาสารท
"สารท" เป็นคำที่มาจากภาษาอินเดีย แปลว่า "ฤดู" ซึ่งฤดูสารทนี้เป็นฤดูที่ต้นไม้เริ่มออกผล เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผู้ที่ต้องการให้พืชพันธุ์ธัญญาหารของตนเจริญงอกงามดี ก็ได้นำพืชพันธุ์เหล่านั้นไปถวายสิ่งที่ตนนับถือซึ่งประเทศต่างๆ นั้นก็นิยมทำเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว เช่น ในประเทศจีน เมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลิตผลในครั้งแรกนั้นประเพณีนิยมที่ต้องนำผลไม้ที่เก็บเกี่ยวในครั้งแรกนี้ ถวายสักการะแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา ทั้งนี้เพื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นจะได้ดลบันดาลให้พืชผลเจริญงอกงามดีแม้แต่ในประเทศแถบตอนเหนือของยุโรปก็มีหลัก ฐานปรากฏว่ามีการนำพืชพันธุ์ธัญญาหารไปถวายเพื่อให้ผลิตผลอุดมสมบูรณ์เช่นกัน
ส่วนในประเทศไทยประเพณีการทำบุญวันสารทเป็นพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือของนางนพมาศ เนื่องจากศาสนาพราหมณ์เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย คนไทยจึงรับประเพณีนี้มาจากศาสนาพราหมณ์ด้วย ดังที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งเป็นพระ
ราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว“เมื่อพราหมณ์มีสืบเนื่องกันมาช้านานหลายพันปีเช่นนี้จึงเป็นที่นับถือของคนทั้งปวง ในหนังสือต่าง ๆ ซึ่งชนที่นับถือพระพุทธศาสนาแต่ง ที่สุดจนธัมมจักกับปปวัตนสูตรเป็นต้น ซึ่งอ้างว่าเป็นพุทธภาษิตแท้ก็ยังเรียกสมณะกับพราหมณ์เป็นคู่กัน พราหมณ์เป็นที่นับถือไม่มีผู้ใดอาจหมิ่นประมาท ถ้าพราหมณ์เหมือนอย่างเช่นบ้านเราอย่างนี้แล้ว ก็เห็นจะไม่ยกขึ้นเป็นคู่กับสมณะพราหมณ์เป็นที่นับถืออย่างเอกอย่างนับถือพระสงฆ์เช่นนี้ จึงได้เป็นสำหรับผู้ซึ่งปรารถนาความเจริญ คือ อยากจะให้ข้าวในนาบริบูรณ์จึงเอาข้าวที่กำลังท้องมาทำยาคูเลี้ยงพราหมณ์และกวนข้าวปายาสเลี้ยงพราหมณ์ทำบุญสารท คือ ฤดูข้าวรวงเป็นน้ำนมนี้แก่พราหมณ์ เมื่อการพระราชพิธีของพราหมณ์ตกข้าวมาในแผ่นดินสยาม ก็พลอยประพฤติตามลัทธิพราหมาณ์ด้วย สมคำซึ่งนางนพมาศได้กล่าวไว้ว่า เป็นฤดูที่ชนทั้งปวงกวนข้าวปายาส และทำยาคูเลี้ยงพราหมณ์ เมื่อสมณะพราหมณ์เป็นคู่กันเช่นนั้น ผู้ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาในชั้นแรกที่เข้ารึตใหม่เคยถือพราหมณ์เดิมได้ทำบุญตามฤดูกาลแก่พราหมณ์เดิมมาอย่างไร ครั้นเมื่อมาเข้ารึตถือพุทธศาสนาแล้ว เมื่อถึงกำหนดที่ตัวเคยทำบุญ ผู้ใดละเลยจะนิ่งเสียไม่ทำ เมื่อเชื่อว่าพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญอันวิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าพราหมณ์ ก็ต้องมาถวายพระสงฆ์เหมือนเช่นเคยทำอยู่แก่พราหมณ์ ถ้าผู้ใดจละทิ้งศาสนาพราหมาณ์เดิมของตัวให้ขาดไม่ได้ เพราะความเกรงใจก็ลงเป็นทำทั้งสองฝ่าย ถวายทานแก่สมณะด้วยพราหมณ์ด้วย…..”
การทำบุญสารทมิได้มีปรากฏแต่ในศาสนาพราหมณ์เท่านั้น การทำบุญสารทเพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่พืชพันธ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ในศาสนาพุทธนั้นก็มีปรากฏ ในหนังสือพระธรรมบทเล่มหนึ่ง พอสรุปใจความ
ได้ดังนี้เมื่อพระพุทธวิปัสสี่ ได้เกิดขึ้นในโลก มีพี่น้องสองคนชื่อ มหากาลเป็นพี่ และจุลกาลเป็นน้องทำการ
เกษตรกรรมร่วมกันปลูกข้าวสาลีบนที่ผืนเดียวกัน จุลกาลนั้นเห็นว่าข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย
เห็นว่าควรนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ จึงนำความไปปรึกษากับมหากาลพี่ชาย แต่มหากาลไม่เห็นด้วย
เนื่องจากไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อน อีกทั้งก็ไม่เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น แต่จุบกาลมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะนำข้าวไปถวายแด่พระภิกษุ มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น ๒ ส่วน ของตนส่วนหนึ่งและของจุลกาลส่วนหนึ่งซึ่งจะนำข้าวส่วนนั้นไปใช้กิจอันใดก็ได้ จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่านำเมล็ดข้าวต้มกับน้ำนมสดใส่เนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายกรวด เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์ จุลกาลได้ทูลความปราถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า “ด้วยศัพภสลีทานนี้จงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าบรรลุธรรมวิเศษก่อนชนทั้งปวง” เมื่อจุลกาลเสร็จธุระจากการถวายภัตตาหารแด่ภิกษุจึงกลับไปดูนาของตนก็พบว่าข้าวสาลีในนานั้นมีความเจริญงอกงามสมบูรณ์เป็นอย่างมากต่อมาเมื่อข้าวสาลีเจริญขึ้นจนเป็นข้าวเม่า จุลกาลก็นำไปถวายพระสงฆ์อีก และได้ทำต่อมาอีกหลายครั้ง คือเมื่อเก็บเกี่ยวข้าว เมื่อทำเขน็ด เมื่อทำฟ่อน เมื่อขนไว้ในลานเมื่อนวดข้าว เมื่อรวมเมล็ดข้าว เมื่อขนขึ้นฉาง รวมทั้งหมด ๙ ครั้งแต่ข้าวในนาของจุลกาลกลับอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นมิได้ขาดหายไป ต่อมาจุลกาลได้มาเกิดเป็นพระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาด้วยผลบุญแห่งการถวายข้าวแด่พระสงฆ์ ท่านอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นบุคคลแรกที่สำเร็จมรรคผลบรรลุธรรมวิเศษก่อนคนทั้งปวงตามที่ได้ปรารถนาไว้ในแต่ชาติจุลกาลการทำบุญสารทนั้นมิได้สำคัญว่ามาจากศาสนาใด เพียงแต่เป็นการทำบุญเพื่อส่งเสริมขวัญกำลังใจ แก่เกษตรกรผู้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพื่อให้พืชพันธุ์มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นไป อีกทั้งการทำบุญมิใช่เรื่องเสียหายหรือแปลกประหลาดแต่ประการใด ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงนิยมทำบุญทำทานอยู่เป็นนิจมิได้ถือวันใดเป็นพิเศษ แต่การทำบุญสารทนั้นด้วยเหตุว่าเป็นฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยว จึงถือโอกาสทำบุญทำทานให้เป็นของขวัญแก่ไร่นาของตนเท่านั้น ต่อมาประเพณีสารทได้เปลี่ยนความเชื่อถือไปตามกาลเวลาและความเชื่อตามท้องถิ่นของตน บางแห่งเชื่อว่าเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บางแห่งก็เป็นประเพณีการทำบุญเนื่องจากว่างจากภารกิจไร่นาจึงถือโอกาสทำบุญครั้งใหญ่เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เป็นต้น
เกษตรกรรมร่วมกันปลูกข้าวสาลีบนที่ผืนเดียวกัน จุลกาลนั้นเห็นว่าข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย
เห็นว่าควรนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ จึงนำความไปปรึกษากับมหากาลพี่ชาย แต่มหากาลไม่เห็นด้วย
เนื่องจากไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อน อีกทั้งก็ไม่เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น แต่จุบกาลมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะนำข้าวไปถวายแด่พระภิกษุ มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น ๒ ส่วน ของตนส่วนหนึ่งและของจุลกาลส่วนหนึ่งซึ่งจะนำข้าวส่วนนั้นไปใช้กิจอันใดก็ได้ จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่านำเมล็ดข้าวต้มกับน้ำนมสดใส่เนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายกรวด เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์ จุลกาลได้ทูลความปราถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า “ด้วยศัพภสลีทานนี้จงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าบรรลุธรรมวิเศษก่อนชนทั้งปวง” เมื่อจุลกาลเสร็จธุระจากการถวายภัตตาหารแด่ภิกษุจึงกลับไปดูนาของตนก็พบว่าข้าวสาลีในนานั้นมีความเจริญงอกงามสมบูรณ์เป็นอย่างมากต่อมาเมื่อข้าวสาลีเจริญขึ้นจนเป็นข้าวเม่า จุลกาลก็นำไปถวายพระสงฆ์อีก และได้ทำต่อมาอีกหลายครั้ง คือเมื่อเก็บเกี่ยวข้าว เมื่อทำเขน็ด เมื่อทำฟ่อน เมื่อขนไว้ในลานเมื่อนวดข้าว เมื่อรวมเมล็ดข้าว เมื่อขนขึ้นฉาง รวมทั้งหมด ๙ ครั้งแต่ข้าวในนาของจุลกาลกลับอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นมิได้ขาดหายไป ต่อมาจุลกาลได้มาเกิดเป็นพระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาด้วยผลบุญแห่งการถวายข้าวแด่พระสงฆ์ ท่านอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นบุคคลแรกที่สำเร็จมรรคผลบรรลุธรรมวิเศษก่อนคนทั้งปวงตามที่ได้ปรารถนาไว้ในแต่ชาติจุลกาลการทำบุญสารทนั้นมิได้สำคัญว่ามาจากศาสนาใด เพียงแต่เป็นการทำบุญเพื่อส่งเสริมขวัญกำลังใจ แก่เกษตรกรผู้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพื่อให้พืชพันธุ์มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นไป อีกทั้งการทำบุญมิใช่เรื่องเสียหายหรือแปลกประหลาดแต่ประการใด ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงนิยมทำบุญทำทานอยู่เป็นนิจมิได้ถือวันใดเป็นพิเศษ แต่การทำบุญสารทนั้นด้วยเหตุว่าเป็นฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยว จึงถือโอกาสทำบุญทำทานให้เป็นของขวัญแก่ไร่นาของตนเท่านั้น ต่อมาประเพณีสารทได้เปลี่ยนความเชื่อถือไปตามกาลเวลาและความเชื่อตามท้องถิ่นของตน บางแห่งเชื่อว่าเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บางแห่งก็เป็นประเพณีการทำบุญเนื่องจากว่างจากภารกิจไร่นาจึงถือโอกาสทำบุญครั้งใหญ่เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เป็นต้น
"สารทเป็นนักขัตฤกษ์" ถือเป็นประเพณีนิยมมาแต่โบราณกาลว่าเทศกาลทำบุญสิ้นเดือน ๑๐ คือ วัน เวลา เดือน และปีที่ผ่านพ้นไปกึ่งปี และโดยที่มนุษยชาติดำรงอยู่ได้ด้วยเกษตรกรรมเป็นหลักสำคัญเมื่อถึงกึ่งปีเป็นฤดูกาลที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนม จึงได้มีกรรมวิธีปรุงแต่งที่เรียกกันว่า กวนข้าวทิพย์ หรือ ข้าวปายาส ข้าวยาคู และขนมชนิดหนึ่งเรียกว่า "กระยาสารท" แล้วประกอบการบ าเพ็ญกุศลถวายพระสงฆ์เพื่อเป็น
สิริมงคลแก่ข้าวในนาทั้งอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนผู้มีพระคุณ และแจกสมนาคุณญาติมิตรตามคติที่ชาวไทยเป็นพุทธศาสนิกชน
แม้จะเป็นประเพณีที่มีส่วนมาจากลัทธิพราหมณ์ ชาวไทยก็นิยมรับเพราะเป็นประเพณีในส่วนที่มีคุณธรรมอันดีพึงยึดถือปฏิบัติพิธีสารท นอกจากเป็นประเพณีของชนชาวไทยทั่วไปแล้ว ในส่วนของพระมหากษัตริย์ที่เรียกว่าพิธีของหลวงนั้นในสมัยสุโขทัยมีในต านานนางนพมาศว่า “ราชบุรุษชาวพนักงานตกแต่งโรงพิธีในพระราชนิเวศน์ ตั้งก้อนเส้าเตาเพลิงแลสัมภาระเครื่องใช้เบ็ดเสร็จ นายนักการระหารหลวงก็เก็บเกี่ยวครรภสาลีและรวงข้าวมาตำเป็นข้าวเม่า ข้าวตอกส่งต่อมณเฑียรวังเวรเครื่อง นายพระโคก็รีดน้ำชีรารสมาส่งดุจเดียวกัน ครั้งได้ฤกษ์รับสั่งให้จ่าชาวเวรเครื่องทั้งมวลตกแต่งปรุงมธุปายาสปรุงปนระดมเจือล้วนแต่โอชารส มีขัณฑสกร น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล นมสด เป็นต้นใส่ลงไปในภาชนะซึ่งตั้งบนเตาเพลิง จึงให้สาวสำอางกวนมธุปายาสโดยสังเขปชาวดุริยางค์ดนตรีก็ประโคมพิณพาทย์ ฆ้อง กลอง เล่นการมหรสพ ระเบงระบ าล้วนแต่นารี แล้วพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยราชบริพารน้ำข้าวปายาสไปถวายพระมหาเถรานุเถระ”
ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้สืบประเพณีพระราชพิธีสารทมาจัดทำ เช่น ในรัชกาลที่ ๑ มีพระราชพิธี
สารทกวนข้าวทิพย์ รัชกาลต่อมาได้ทำบ้างงดบ้าง จนถึงปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯให้ตั้งการพระราชพิธีสารท มีกำหนดการดังนี้
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯให้ตั้งการพระราชพิธีสารท มีกำหนดการดังนี้
เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) เสนาบดีกระทรวงวังรับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่าราชประเพณีแต่ก่อนมา ถึงเวลากลางปีเคยมีการพระราชพิธีสารทกวนข้าวทิพย์ปายาสทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายยาคูแด่พระสงฆ์ ด้วยว่าประจวบฤดูข้าวในนาแรกออกรวงเป็นกษีรรสพอจะเริ่มบริจาคเป็นทานถวายแด่ภิกษุสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาได้เรียกว่าสาลีคัพภทาน แต่เว้นว่างมิได้กระทำมาเสียนานมีพระราชประสงค์ที่จะทรงกระทำในปีนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชพิธีสารทในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย แต่งสาวพรหมจารีราชอนุวงศ์ให้กวนข้าวทิพย์ปายาส แลแผ่พระราชกุศลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าฝ่ายใน ให้รับรวงข้าวอ่อนไปแต่งเป็นยาคูบรรจุโถทำด้วยฟักเหลืองประดับประดาอย่างวิจิตร พึงชมถวายโดยเสด็จในการพระราชกุศลพิธีสารท มีกำหนดการดังนี้
วันที่ ๒๕ กันยายน ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๑๕ ค่ า ปีเถาะ เจ้าพนักงานจะได้แต่งการใน
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เชิญพระพุทธรูปชัยวัฒน์ทั้ง ๗ รัชกาลแลพระสุพรรณบัฎ พระมหาสังข์ พระเต้าน้ำ
พระพุทธมนต์ ทั้งพระแสงราชาวุธ จัดตั้งไว้บนพระแท่นเศวตฉัตร ตั้งโต๊ะจีนสองข้างประดิษฐานพระพุทธรูป
นิรันตรายบนโต๊ะข้างตะวันออก ประดิษฐานรูปพระสยามเทวาธิราชบนโต๊ะข้างตะวันตก ตั้งเครื่องนมัสการ
สรรพสิ่งทั้งปวงสำหรับพระราชพิธีพร้อมกับทั้งตกแต่งโรงพระราชพิธีที่กวนข้าวทิพย์ปายาส ณ สวนศิวาลัย แลแต่งหอเวทวิทยาคมพราหมณ์เข้าพิธีเสร็จสรรพ
เวลา ๕.๐๐ ล.ท. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงจุด
เทียนนมัสการทรงศีลอาลักษณ์อ่านประกาศพระราชพิธีสารทเมื่ออาลักษณ์อ่านประกาศจบ พระสงฆ์ ๓๐ รูปสวดพระพุทธมนต์ สาวพรหมจารีราชอนุวงศ์ซึ่งจะกวนข้าวทิพย์ปายาสฟังพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ในพระสูตร ครั้นสวดจบสมเด็จพระสังฆราชเจ้าถวายอดิเรกถวายพระพรลา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ ทรงเจิมพระราชทานสาวพรหมจารีและท้าวนางนำไปสู่โรงพระราชพิธี ณ สวนศิวาลัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปเข้าโรงพระราชพิธี ทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์สงใน
กะทะแลทรงเจิมพายแล้วทรงรินน้ำพระพุทธมนต์ในพระเต้าลงกะทะโดยลำดับโปรดเกล้าฯให้หม่อมเจ้าน้อย ๆนำเครื่องปรุงอเนกรสหยอดตามเสด็จไป เจ้าพนักงานเทถุงเครื่องกวนลงไปในกะทะสาวพรหมจารีกวนข้าวทิพย์ปายาส เจ้าพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร เครื่องดุริยางค์ พราหมณ์ หลั่งน้ำเทพมนต์ลงทุกกระทะเพื่อเป็นสวัสดิมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับ ครั้นกวนข้าวทิพย์ปายาสได้ที่แล้ว เจ้าพนักงานบรรจุเตียบนำไปตั้งไว้ในมณฑลพระราชพิธี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
กะทะแลทรงเจิมพายแล้วทรงรินน้ำพระพุทธมนต์ในพระเต้าลงกะทะโดยลำดับโปรดเกล้าฯให้หม่อมเจ้าน้อย ๆนำเครื่องปรุงอเนกรสหยอดตามเสด็จไป เจ้าพนักงานเทถุงเครื่องกวนลงไปในกะทะสาวพรหมจารีกวนข้าวทิพย์ปายาส เจ้าพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร เครื่องดุริยางค์ พราหมณ์ หลั่งน้ำเทพมนต์ลงทุกกระทะเพื่อเป็นสวัสดิมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับ ครั้นกวนข้าวทิพย์ปายาสได้ที่แล้ว เจ้าพนักงานบรรจุเตียบนำไปตั้งไว้ในมณฑลพระราชพิธี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
วันที่ ๒๖ กันยายน ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีเถาะ เวลาเช้าเจ้าพนักงานจะได้รับโถยาคูซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทแต่งมาโดยเสด็จการพระราชกุศล จัดตั้งเรียงไว้ถวายตัว
เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งอมรินท
รวินิจฉัย ทรงจุดเทียนนมัสการ ทรงศีล พระสงฆ์ถวายพรพระ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรโถยาคู ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทแต่งมาถวาย ทรงเลือกปักธงชื่อพระตามประราชประสงค์จำนงพระราชทานโถไหนแก่รูปไหนแล้ว เจ้าพนักงานยกไปตั้งตามที่ทางประเคนภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ครั้นพระสงฆ์ฉันของคาวแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ประเคนของหวานกับทั้งยาคูแลข้าวทิพย์ปายาส ครั้นฉันแล้วทรงประเคนเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้าถวายอดิเรกถวายพระพรลาแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับ เจ้าพนักงานจำแนกข้าวทิพย์ปายาสพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ กับข้าทูลละอองธุลีพระบาททั่วกันแล้ว เป็นเสร็จการ
รวินิจฉัย ทรงจุดเทียนนมัสการ ทรงศีล พระสงฆ์ถวายพรพระ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรโถยาคู ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทแต่งมาถวาย ทรงเลือกปักธงชื่อพระตามประราชประสงค์จำนงพระราชทานโถไหนแก่รูปไหนแล้ว เจ้าพนักงานยกไปตั้งตามที่ทางประเคนภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ครั้นพระสงฆ์ฉันของคาวแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ประเคนของหวานกับทั้งยาคูแลข้าวทิพย์ปายาส ครั้นฉันแล้วทรงประเคนเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้าถวายอดิเรกถวายพระพรลาแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับ เจ้าพนักงานจำแนกข้าวทิพย์ปายาสพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ กับข้าทูลละอองธุลีพระบาททั่วกันแล้ว เป็นเสร็จการ
ความสำคัญ การกวนกระยาสารท กล้วยไข่ ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็น
ต้นมา
ในวันงานจะมีกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ทอดผ้าป่าแถว การประกวดพืชผลทางการเกษตร เช่น
กล้วยไข่ รวมทั้งการแสดงสินค้าพื้นเมืองพิธีกรรม ชาวบ้านจะน าเอาพืชผลทางการเกษตรที่ผลิตได้มาร่วมกันทำกระยาสารท ได้แก่ ข้าวเม่าข้าวตอก ถั่วงา น้ าตาล น้ าผึ้ง มาร่วมกันกวน หลังจากนั้นจึงนำถวายพระสงฆ์และผู้มาร่วมงานตามลำดับ
สาระ "กระยาสารท" เป็นอาหารที่ทำในฤดูสารท (เดือนสิบ) เป็นช่วงที่ผลิตผลทางการเกษตรของกำแพงเพชรอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา ซึ่งเป็นการเก็บ พืชผลครั้งแรก
ประเพณีที่เกี่ยวข้อง
วันสารทไทย ตรงกับวันแรม 15 ค่ า เดือน 10 เป็นเทศกาลท าบุญเดือน 10 ของไทย ซึ่งเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตามหลักฐานพบว่ามีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีพิธีของประชาชนในประเพณีเกี่ยวกับการทำบุญเนื่องในวันสารทไทย ซึ่งกำหนดไว้เป็นที่แน่นอนว่า วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ดังกล่าว มาแล้วนั้นปรากฎว่า มีประเพณีทำบุญท านองเดียวกันในภาคอื่น ๆ ด้วย หากแต่กำหนดวันและวิธีปฏิบัติอาจแตกต่างกันดังนี้
ภาคใต้
มีประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ปู่ย่าตายายญาติพี่น้องและ บุคคลอื่น ๆ ที่ล่วงลับไปแล้ว ในเดือน ๑๐ เป็นสองวาระคือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ครั้นหนึ่ง และวันแรม ๑๕ ค่ า เดือน ๑๐ อีกครั้งหนึ่ง โดยถือคติว่า พ่อแม่ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วโดยเฉพาะ ผู้ที่ต้องตกนรกหรือเรียกว่าเปรตนั้นจะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติ ของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และกลับไปสู่นรก ดังเดิม ในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ดังนั้น จึงมีการทำบุญในสองวาระ ดังกล่าวนี้ แต่ส่วนใหญ่ทำวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ เพราะมีความสำคัญ มากกว่า (บางท้องถิ่นทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ การทำบุญของชาวไทยภาคใต้ดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกเป็น 4 อย่างคือ
๑.ประเพณีทำบุญเดือนสิบ โดยกำหนดเอาเดือนทำบุญเป็นหลัก
๒.ประเพณีทำบุญวันสารท โดยถือหลักของการทำบุญที่มีความ สัมพันธ์กับอินเดีย เหมือนวันสารทไทยของคนไทยในภาคกลาง ดังกล่าวมาแล้ว บางครั้งก็เรียกว่า ประเพณีทำบุญสารทหรือเดือนสิบ
๓. ประเพณีจัดห.ม.รับ (สำรับ) การยกห.ม.รับ และการชิงเปรต คำว่า จัดห.ม.รับ ได้แก่ การจัดเสบียงอาหารเป็นสำรับถวายพระภิกษุ โดยให้พระภิกษุจับสลากแล้วให้ศิษย์เก็บไว้ แล้วนำถวายพระภิกษุเป็น มื้อ ๆ การยก ห.ม.รับที่จัดเรียบร้อยแล้วไปวัดพร้อมทั้งภัตตาหารไปถวาย พระภิกษุในช่วงเวลาเช้าก่อนเพล จะจัดเป็นขบวนแห่ใหญ่โตก็ได้ บาง แห่งแต่งตัวเป็นเปรตเข้าร่วมไปในขบวนด้วย ส่วนชิงเปรตหรือตั้งเปรต นั้นเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำบุญ กล่าวคือ เมื่อจัดห.ม.รับ ยก ห.ม.รับไปถวายพระภิกษุแล้วจะเอาอาหารที่จัดไว้ ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่ง ต่างหากไปจัดตั้งไว้ให้เปรต โดยมากเป็นอาหารที่ผู้ล่วงลับไปแล้วชอบ ในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือขนม ๕ อย่าง คือ ขนมพอง ขนมลา ขนมกง ขนมดีซำ และขนมบ้า สถานที่ตั้ง
อาหาร เป็นร้านสูง พอสมควร เรียกว่า ร้านเปรตหรือหลา (ศาลา) เปรต มีสายสิญจน์วงรอบ โดยให้ปลาย
สายสิญจน์อีกข้างหนึ่งโยงมาสำหรับพระภิกษุชักบังสุกุล ซึ่งชาวบ้านจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ พบเก็บสายสิญจน์แล้ว ก็จะมีการแย่งอาหารและขนมที่ตั้งเปรตไว้นั้นอย่างสนุกสนานเรียกว่า ชิงเปรต แล้วนำมากิน ถือว่าได้กุศลแรงและเป็นสิริมงคล การทำบุญด้วย วิธีตั้งเปรตและชักบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลนี้ บางครั้งเรียกว่า การฉลอง ห.ม.รับและบังสุกุล ถือว่าสำคัญเพราะถือว่าเป็นวันส่งญาติผู้ล่วงลับไป แล้วด้วย
๔. ประเพณีทำบุญตายายหรือประเพณีรับส่งตายาย โดยถือคติ ว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้วกลับมาเยี่ยมลูกหลานในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และกลับนรกตามเดิมในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ แต่มีบางแห่งถือว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เหล่านี้เป็นตายาย เมื่อท่านมาก็ทำบุญรับ เมื่อท่าน กลับก็ส่งกลับ จึงเรียกประเพณีดังกล่าวนี้ว่า ทำบุญตายาย ของทำบุญก็ เหมือนกับที่กล่าวไว้ในข้อ ๓
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาค อีสาน มีประเพณีการทำบุญในเดือน ๑๐ เหมือนกัน คือ ทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ แต่แบ่งระยะเวลาของประเพณีการทำบุญออกไปเป็น ๒
ระยะ ดังนี้
ระยะ ดังนี้
ระยะแรก ก่อนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ชาวบ้านจะเตรียม ข้าวเม่าพอง และข้าวตอก (บางแห่ง
เรียกดอกแตก) ขนมและอาหาร หวานคาวอื่น ๆ เพื่อจะทำบุญในวันขึ้น ๑๕ ค่ า เดือน ๑๐ มาถึงโดย เฉพาะ
ข้าวเม่าพอง กับข้าวตอกนั้น จะคลุกให้เข้ากันแล้วใส่น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่วงา มะพร้าวให้เป็นข้าวสาก ซึ่งตรงกับคนไทยภาคกลาง เรียกว่า กระยาสารท เมื่อเตรียมของทำบุญไว้เรียบร้อย ก็จะเอาข้าว ปลาอาหารไปส่งญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ถ้าหากบุคคลเหล่านั้นอยู่ห่างไกล ก็จะไปค้างคืน นอกจากมอบของแล้วจะถือโอกาสเยี่ยมเยียนถามทุกข์ สุขเป็นประเพณีที่เรียกว่า ส่งเขาส่งเรา ผลัดกันไปผลัดกันมา เป็นการ แลกเปลี่ยนกัน
ส่วนข้าวสารหรือกระยาสารทนั้น จะส่งก่อนวันทำบุญหรือใน วันทำบุญก็ได้เรียกว่า ส่งข้าวสากระยะที่สอง คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เวลาเช้าชาวบ้านไป ท าบุญตักบาตรที่วัด อุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่ อาจมีบางคนอยู่วัดรักษาศีล ฟังเทศน์ก็ได้ ครั้นถึงเวลาใกล้เพล ก็เตรียมภัตตาหารไปวัดอีกครั้งหนึ่ง มีห่อข้าวน้อย ห่อข้าวใหญ่ ข้าวสาก และ อาหารอื่น ๆ บางแห่งอาจจัดของที่จะถวายเป็นกัณฑ์เทศน์ไปด้วย เมื่อถึงวัดแล้ว ก็จะจัดภัตตาหารและของพี่จะถวายพระภิกษุ ถวายเสียก่อน บางแห่งนิยมทำเป็นสลาก ชาวบ้านคนไหนจับสลากถูก ชื่อพระภิกษุรูปใด ก็ถวายรูปนั้น ทำนองเดียวกับการทำบุญสลากภัต จึงเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจว่า การทำบุญข้าวสาก ก็คือทำบุญด้วยวิธี ถวายตามสลาก ส่วนห่อข้าวน้อย ห่อข้าวใหญ่ ชาวบ้านแจกกันเอง ห่อข้าวน้อย นั้น เมื่อแจกแล้วก็แก้ห่อออกกินกันในวัดทีเดียว ถือกันว่า
เป็นการกินใน ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ส่วนห่อข้าวใหญ่เอากลับไปบ้าน เก็บไว้ ในเวลาต่อไป เพราะอาหารในห่อนั้นเป็นพวกของแห้ง เช่น ปลาแห้ง เนื้อแห้ง ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน ๆ ถือคติว่าเอาไปกินใน ปรโลก ประเพณีแจกห่อข้าวน้อยและห่อข่าวใหญ่นี้ ปัจจุบันเกือบไม่มี แล้ว จะจัดเพียงภัตตาหารไปถวายพระภิกษุพร้อมด้วยข้าวสากหรือ ถวายกระยาสารทเท่านั้น
สำหรับข้าวสากที่จะนำไปแจกกันเหมือนกระยาสารทของคนไทย ภาคกลางนั้นวิธีห่อผิดกับทางภาค
กลาง เพราะห่อด้วยใบตองกลัดด้วย ไม้กลัด หัวท้ายมีรูปลักษณะคล้ายข้าวต้มมัด แต่ตรงปลายทั้งสองข้าง ที่เรียกว่าสันตองไม่ต้องพับเข้ามา ของที่ใส่ในห่อ มีข้าวต้ม (ข้าว เหมือนแบบข้าวต้มผัด) ข้าวสาก แกงเนื้อ แกงปลา หมาก พลู บุหรี่ ห่อแล้วเย็บติดกันเป็นคู่ ๆ เอาไปห้อยไว้ตามต้นไม้ รั้วบ้าน เมื่อห้อยไว้ แล้วก็ตีกลองหรือโปง เป็นสัญญาณให้เปรตมาเอาไปและปล่อยทิ้งไว้ ชั่วพักหนึ่งกะเวลาที่เปรตได้มารับเอาอาหารที่ห้อยไว้นั้นไปแล้ว ชาวบ้าน ก็แย่งกันชุลมุน ใครแย่งเก่งก็ได้มากกว่าคนอื่น เรียกว่า แย่งเปรต ของที่แย่งเปรตไปได้นี้ ชาวบ้านจะเอาไปไว้ตามไร่นา เพื่อเลี้ยง ตาแฮก (ยักษินีหรือเทพารักษ์ รักษาไร่นาซึ่งเคยเลี้ยงมาเมื่อตอนเริ่มทำนาในเดือน ๖ มาครั้งหนึ่งแล้ว) นอกจากเลี้ยงตาแฮกแล้วก็เอาไปให้ เด็กรับประทาน เพราะถือว่าเด็กที่รับประทานแล้วจะอ้วนท้วนสมบูรณ์ ไม่เจ็๋บไข้ได้ป่วย ภาคเหนือ จังหวัด กำแพงเพชร ช่วงเวลา ปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคมของทุกปี
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
เรื่องราวความเป็นมาของกระยาสารทจาก วิกิพิเดีย
"กระยาสารท" เป็นขนมไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว และน้ำตาล มักทำกันมากในช่วงสารทไทย แรม 15 ค่ำ ปลายเดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนว่า ขนมกระยาสารทเป็นขนมโบราณ มีความพิเศษตรงที่เป็นขนมสำหรับงานบุญประเพณีของไทย เรียกได้ว่าเป็นขนมที่มีประเพณี และวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว จนอาจจะทำให้หลายคนนึกสงสัยขึ้นมาได้ ว่าทำไมขนมกระยาสาทรหอมหวานที่เป็นแพเหนียว ๆ นี้ จึงมีความสำคัญมากเสียจนต้องจัดพิธีทำบุญด้วยขนมกระยาสารท
"กระยาสารท" "ขายกระยาสารท"
แม้ขนมกระยาสารทจะเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่รากศัพท์ของคำว่าสารทจริง ๆ แล้วเป็นคำในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับฤดูการผลิดอกออกผลของพืชพันธุ์ โบราณจึงถือกันวาควรจะนำผลผลิตเหล่านั้นมาถวายแด่สิ่งศักสิทธิ์เพื่อเป็นการสักการะ และขอพรให้พืชของตนออกดอกออกผลดกดี และประเพณีนี้ก็มีในแถบประเทศจีนและตอนเหนือของยุโรปด้วย แต่สำหรับไทยแล้วประเพณีนี้มาแพร่หลายในช่วงสมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับพราหมณ์ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย แต่ช่วงเวลาของประเพณีตามอินเดีย เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับระยะข้าวเริ่มออกรวงของไทย ชาวบ้านจึงเกี่ยวข้าวที่ยังมีเปลือกอ่อน ๆ และเมล็ดยังไม่แก่ เอามาคั่วแล้วตำให้เป็นเมล็ดข้าวแบน ๆ เรียกว่า ข้าวเม่าแทน
ส่วนตำราความเชื่อของขนมกระยาสารทมีอยู่ 2 ตำราด้วยกัน ตำราหนึ่งกล่าวว่า มีพี่น้องอยู่สองคนชื่อ มหากาลผู้พี่ และจุลกาลผู้น้อง ทั้งสองทำการเกษตรกรรมร่วมกันคือ ปลูกข้าวสาลีบนที่ผืนเดียวกัน จุลกาลนั้นเห็นว่าข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย ก็เลยอยากนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ จึงปรึกษากับมหากาลพี่ชาย แต่มหากาลไม่เห็นด้วย มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ต่างคนต่างนำข้าวไปใช้กิจอันใดก็ได้ จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่า แล้วต้มกับน้ำนมสด ใส่เนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายกรวด เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์ จุลกาลได้ทูลความปรารถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า ขอให้ตนบรรลุธรรมวิเศษก่อนใคร และเมื่อกลับบ้านไป ก็พบว่านาข้าวสาลีของตนนั้นออกรวงอุดมสมบูรณ์สวยงาม จนเก็บเกี่ยวไป 9 ครั้งก็ยังอุดมสมบูรณ์อยู่อย่างนั้นตลอดไป
เป็นอาหารที่ทำให้ฤดูสารท กระยาสารทนี้เนื่องมาจาก ข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นอาหารอินเดียใช้ข้าว น้ำตาล น้ำนม ผสมกัน ซึ่งนางสุชาดาหุงถวายพระพุทธเจ้าส่วนผสมของกระยาสารทไทยมีข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่วลิสง งาคั่วให้สุกเสียก่อน แล้วนำมากวนกับน้ำอ้อยกวนให้เหนียวกรอบเกาะกันเป็นปึก จะทำเป็นกรอบเป็นก้อนหรือตัดเป็นชิ้นๆ เก็บไว้ได้นานทำจากพืชผลแรกได้กระยาสารทเป็นของหวานจัด โดยมากจะกินกับกล้วยไข่สุกทำถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว กระยาสารทกำหนดทรงบาตรที่วิเศษ ในการพระราชพิธีสารทนี้ตกทอดกันมานาน
คนผู้นับถือพระพุทธศาสนาจะพากันหยุดงาน ตระเตรียมสิ่งของทำบุญที่เรียกว่ากระยาสารทเป็นของหวาน ประจำเทศกาลสารท นิยมทำกันก่อนวันสิ้นเดือนเป็นวันโกน วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับเดือนกันยายน ชาวบ้านจะกวนกระยาสารทมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว จนกลายเป็นประเพณีสารทไทย หรือเทศกาลกวนขนมกระยาสารทจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง ปรากฎคำกลอนในนิราศเดือนว่า
"ถึงเดือนสิบเห็นกันเมื่อวันสารท ใส่อังคาสโภชนากระยาหาร
กระยาสารท กล้วยไข่ใส่โตกพาน พวกชาวบ้านถ้วนหน้าธารณะ"
กระยาสารทเป็นสัญลักษณ์ของ ผลิตผลทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา ซึ่งเป็นการเก็บ พืชผลครั้งแรกอีกด้วย
"กระยาสารท ประวัติ" "กระยาสารท iazada" "กระยาสารท shopee" "กระยาสารท วิกิพิเดีย"
กระยาสารท มี อย.
ขนมที่มีส่วนผสมของถั่วจะต้องระวังเรื่องของรา บางครั้งราแบบขึ้นเล็กๆเราอาจเผลอทานเข้าไปโดยไม่ทันสังเกตทไให้เกิดอันตรายได้ มะพร้าว กะทิ ทำให้เหม็นหืน เรื่องของความสะอาด การเลือกวัตถุดิบต่างๆ ขั้นตอนการผลิต และการบรรจุสินค้าจึงต้องมีความพิถีพิถันในทุกขั้นตอน "กระยาสารท ตราแกร็บไทยโก" มี อย. รับรองมาตรฐาน มีวันหมดอายุบอกไว้อย่างชัดเจน ท่านจึงมั่นใจได้ว่า "กระยาสารท ตราแกร็บไทยโก" สะอาด สด ใหม่ เสมอ
"กระยาสารท มี อย." "กระยาสารท มี อย. รับรอง"
กระยาสารท เป็นของฝาก
"กระยาสารท ตราแกร็บไทยโก" นอกจากจะมีรสชาติที่อร่อยแล้ว บรรจุภัณฑ์ยังดูสวยงาม ท่านสามารถติดไม้ติดมือไปเป็นของฝากได้อีกด้วย เราเป็นคนไทย "ขนมไทย" เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของเราอย่างหนึ่ง การนำ "ขนมกระยาสารท" ติดไม้ติดมือไปเป็นของขวัญของฝากจึงเหมาะในทุกที่ทุกโอกาส ของผมเวลาจะไปเยี่ยมเยียนผู้หลักผู้ใหญ่ก็มักจะนำ "ขนมไทยนี่" ล่ะ ที่ใช้เป็นของฝากอยู่เสมอครับ
กระยาสารท ต้นตำรับ
"กระยาสารท ตราแกร็บไทยโก" ทำภาพลักษณ์ให้ดูทันสมัยขึ้น หยิบจับ ทานง่ายขึ้น พกพาสะดวก นำติดตัวไปทานได้ทุกที่ทุกเวลา แต่เรื่องของ วัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิด ยังตงเป็น "กระยาสารท ต้นตำรับ แบบดั้งเดิม ท่านจะสั่งไปทำบุญ ทานเอง เป็นของฝาก ก็ยังคงความอร่อยในแบบไทยๆไว้ไม่เปลี่ยนแปลงเลยครับ ที่สำคัญบรรจุภัณฑ์ที่เราใช้ทำให้ "กระยาสารท" สะอาดปราศจากเชื้อโรค คงความอร่อยได้ยาวนานกว่า
"กระยาสารท ตราแกร็บไทยโก" "กระยาสารทต้นตำรับ" "กระยาสารททำบุญ"
กระยาสารท ทานเป็นของว่าง
ผมเป็นคนที่ชอบจิบชา เลยหาของว่างมาทานคู่กับการจิบชาอยู่บ่อยๆ "กระยาสารท" เลยเป็นขนมอย่างหนึ่งที่ผมชอบสั่งมาทานเล่น "กระยาสารท ตราแกร็บไทยโก" เหมาะกับการทานคู่กับจิบชามากๆ เพราะเขาตัดมาพอดีคำ ทำให้เราทานง่าย โดยเฉพาะเรื่องของรสชาติ "กระยาสารท ตราแกร็บไทยโก" กำลังพอดี ไม่หวานจนเกินไป มีความนุ่มของเนื้อ ไม่แข็งกระด้าง อยากให้ทุกท่านได้ลองชิมกันดู
"กระยาสารท ซื้อที่ไหน"
กวนกระยาสารท
การกวน "กระยาสารท" ให้อร่อยไม่ใช่เรื่องง่าย ไปเจอบางเจ้าทำออกมาแล้วทานไม่อร่อบเลย ส่วนใหญ่จะออกไปทางแข็งเลยทำให้เคี้ยวยาก กระยาสารทที่อร่อยจะต้องมีความยืดหยุ่นของเนื้อ ถั่วกรอบ หอม หวาน เวลาเคี้ยวรู้สึกว่ามันนัวเข้ากัน กระสารทเจ้าอร่อยๆที่ผมรู้จัก ส่วนใหญ่จะขายกันมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี เจ้าที่ขายมานานที่สุดที่ผมรู้จักขายมาเกิน 40 ปีแล้วครับ ประสบการณ์ทำให้กระสารทของเขาทำออกมาอร่อยสุดๆ
"กระยาสารทสูตรโบราณ" "กระยาสารทสูตรดั้งเดิม" "กระยาสารทเจ้าเก่าแก่"
ร้านขายกระยาสารท
ผมนำร้านขายกระยาสารทที่น่าสนในมาให้ทุกท่านได้ชมกัน เผื่อว่าอยู่ใกล้อยากจะไปซื้อด้วยตัวเอง จะได้รู่้ว่ามีร้านอยู่ตรงไหนบ้าง มีทั้งที่อยู่และสถานที่ตั้งให้แม็พนำทางให้ครับ รับรองว่าเจอร้านแน่ๆ มาดูกันดีกว่าว่ามีร้านไหนกันบ้าง แต่ก่อนซื้อดูรีวิวสักหน่อยหนึ่งก่อนนะครับเพื่อความมั่นใจว่าของเขาดีมีคุณภาพหรือเปล่า จะได้ไม่ผิดหวังที่อุตส่าห์ตั้งใจซื้อ สนใจร้านไหนกดที่รูปเข้าไปดูรายละเอียดได้เลยครับ
"กระยาสารทร้านเก่าแก่" "กระยาสารท ของฝาก"
กระยาสารทเจ๊หมวยตลาดศรีดินแดง
เป็นร้านเก่าแก่ที่มีประสบการณ์ในการกวนมากว่า30ปี จนเป็นที่กล่าวขานว่า กระยาสาท ไม่แข็งเกินไป ไม่เหนียว กำลังพอดี
ที่ตั้ง 37 ซ. ตลาดศรีดินแดง แขวง ดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
โทร.0859952057
เปิดบริการทุกวัน 6:00–18:00 น.
ตาไก่ กระยาสารทน้ำอ้อยแท้
ร้านตั้งอยู่ที่ตลาดน้ำคลองลัดมะยม โซน4 ไปที่ร้านเขามีตัวอย่างให้ลองชิมก่อน กระยาสารทเนื้อนิ่มเคี้ยวง่าย หวานอ่อนๆ ถั่ว งา ไม่หืน เพราะเขาทำสดใหม่ทุกวัน ทานง่ายเพราะเขาตัดมาให้เรียบร้อย
ที่ตั้ง 194 ถนน สิรินธร แขวง บางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700
เปิดบริการ 8:00–18:00 น. หยุดวันเสาร์-อาทิตย์
กระยาสารทแม่สังเวียน
เป็นกระยาสารทอีกเจ้าอร่อยของอำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เริ่มจากการทำกินกันเองในบ้านจนสร้างตำนานความอร่อยมายาวนานกว่า30ปี ด้วยสูตรเด็ดดั้งเดิมและคุณภาพที่ที่ติดใจลูกค้าไม่เปลี่ยนแปลง
ที่ตั้ง JHXH+C98 ตำบล บ้านแพรก อำเภอ บ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13240
เปิดบริการ 6.00-20.00 น. ทุกวัน
กระยาสารทแม่ลิ้มลิ้ม
ที่ตั้ง 34/1 หมู่4 ตำบล ไม้ตรา อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13190
โทร 0866027122
เปิดบริการ 8.00-20.00 น. ทุกวัน
บ้านศรีสุข กระยาสารท
ที่ตั้ง 51 ซอย รามอินทรา 86 แขวง มีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510
โทร. 0656356599
เปิดบริการ 8.00-18.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์
กระยาสารท แม่กิม เจ้าเดิม นานกว่า ๑๐๐ ปี
ที่ตั้ง Unnamed Road ตำบล โสธร อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา 24000
โทร. 0896950063
กระยาสารทเจ๊แดง
ที่ตั้ง 150 หมู่ 4, ถนนพิชัยณรงค์สงคราม, ตำบลบ้านยาง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี, 18160
โทร. 036333023
กระยาสารทมรดกไทย อยุธยา
ที่ตั้ง 118 หมู่ 6, ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, 13260
โทร. 035359997
แม่ช่อมาลีกระยาสารท
Unnamed Road อำเภอบ้านโป่ง ราชบุรี 70110
เปิดบริการ 9.00-19.30 น. วันอาทิตย์-ศุกร์ , เสาร์ 8.30-20.00 น.
โทร. 0837111783
กระยาสารทแม่ชม
ขนมไทยโบราณที่ขึ้นชื่อในอำเภอบางบ่อ..หากไม่แน่จริง..อร่อยจัง..คงไม่ได้ทำต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้..62ปีแล้ว..กระยาสารทแม่ชม
📣พร้อมแล้วๆ พร้อมจำหน่ายแล้ว..ส่งทั่วไทยจ้าาา!!
กระยาสารท"แม่ชม"...62ปี..แห่ง..ตำนานที่ยาวนาน
🎯ในปี พ.ศ 2500 (กึ่งพุทธกาล) แม่ชม(ผู้ก่อตั้งกระยาสารทแม่ชม) ได้เริ่มผลิตและวางจำหน่ายเป็นปีแรก ได้รับความนิยมจากลูกค้าอย่างมากมาย จนถึงปัจจุบัน กระยาสารทแม่ชมได้สืบทอดกันมายาวนานถึงสามรุ่นแล้ว และมีการปรับปรุง-พัฒนาสูตรในรุ่นที่สอง(แม่เกียง) จนได้รับความนิยมจากลูกค้าอย่างสูงสุด..มาถึงปัจจุบัน..ทุกอย่างยังคง คุณภาพ รสชาติ แบบเดิมๆไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ลูกค้าจะได้ลิ้มรสความอร่อย กรอบ-นุ่ม หวานหอมจากน้ำอ้อยแท้ ทั้งยังหอมมันจากถั่วและงา ที่ได้คัดสรรคุณภาพมาอย่างพิถีพิถัน จึงเป็นขนมที่อร่อย-โดดเด่น เป็นที่รู้จักของลูกค้ามากมายในย่านบางบ่อและใกล้เคียง วันนี้แม่ค้าได้เพิ่มช่องทาง จำหน่ายผ่านเฟส เพื่อจะเชิญชวนทุกๆท่าน ให้ลองลิ้มรสความอร่อยนี้ สั่งจองได้นะคะ แม่ค้าส่งทั่วไทยค่ะ
ที่ตั้ง ถนน รัตนราช ตำบล บางบ่อ อำเภอบางบ่อ สมุทรปราการ 10560
เปิดบริการ 9.00-20.30 น. ทุกวัน
โทร. 0898143142
ยังมี "ร้านกระยาสารท" เจ้าอร่อยๆ อีกหลายเจ้าที่ผมยังไม่ได้พูดถึง อันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผมพอรู้จัก ใกล้ที่ไหนก็ไปที่นั่น แต่อยากฝากทุกท่านให้ช่วยกันอุดหนุนสินค้าไทย เพื่อให้เงินทองหมุนเวียนอยู่ในบ้านเรา ของต่างประเทศเราใช้แต่สิ่งที่จำเป็น ตอนนี้เศรษฐกิจตกต่ำ เป็นกันทั่วโลกไม่ใช่แค่ประเทศเรา มองดูการค้าขายซบเซามากๆ สงสาร พ่อค้า แม่ค้า บางทีนั่งรอลูกค้ากันหน้าเศร้าเหงาหงอยเลย ยิ่งเป็นพวกของกินยิ่งน่าสงสาร เพราะถ้าขายไม่หมดก็เสียเขาทำกันแบบวันต่อวัน มาช่วยกันกินของไทย ใช้ของไทยกันนะครับ
ตลาดน้ำคลองลัดมะยม
"ตลาดน้ำคลองลัดมะยม" เป็นที่สถานทองเที่ยวที่พาเราเข้าสู่บรรยากาศเก่าๆ คู คลอง ล่อง สวน ทำให้นึกถึงบรรยากาศตอนเป็นเด็ก ของกินส่วนหนึ่งอร่อย ส่วนหนึ่งไม่อร่อย แต่ที่เหมือนกันคือราคาค่อนข้างแพง แต่ก็พอรับได้อยู่เหมือนกัน คิดว่าเราไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจหาความสุข ดีกว่าไปเที่ยวที่ไกลๆยังต้องเสียค่าใชัจ่ายมากว่านี้ตั้งเยอะ ที่แน่ๆมาที่นี่มี "ขนมกระยาสารท" ของ "ร้านตาไก่" อร่อยครับ
กระยาสารทตลาดไท
"ตลาดไทย" เป็นตลาดที่มีพื้นที่กว้างมาก มีของให้จับจ่ายซื้อหามากมายขนาดที่ว่าแทบจะมีครบทุกอย่างที่ตลาดทั่วไปจะต้องมีเลยก็ว่าได้ บ้านผมอยู่แถวคลองห้า ธัญบุรี อยู่ใกล้กับตลาดไทยไปจับจ่ายซื้อของบ่อย ทั้งตลาดของสด ของแห้ง อาหารทะเล ผัก ผลไม้ มีครบ แต่ละตลาดต้องขับรถไปเพราะอยู่ห่างกันพอสมควรถ้าเดินก็เหนื่อยครับ ที่ตลาดไทยก็มี "ขนมกระสารท" ขายอยู่หลายเจ้า แต่ต้องเลือกดูสักหน่อย
กระยาสารท ลาซาด้า
ปัจจุบันเรามี "แอ๊พลาซาด้า" ซึ่งมีของแทบจะทุกอย่างที่เราต้องการอยู่ในนั้น ผมว่าสะดวกสบายดีด้วย สินค้ามีปัญหา สินค้าชำรุด คืนเงินภายใน 15 วัน มี "ลาซาด้า" มาการันตี เป็นสื่อกลางของการซื้อขาย ทำให้เรามันใจได้ว่าจะไม่ถูกโกงแน่ๆ นอกจากนี้ยังมีโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม คืนกำไรให้ลูกค้าตลอดทั้งปี คุ้มอย่างนี้ สั่งสินค้าใน "แอีพลาซาด้า" กันดีกว่าครับ "กระยาสารท ตราแกร็บไทยโก" ก็สั่งจาก "ลาซาด้า"
"ลาซาด้า" "lazada" "แอ๊พลาซาด้า"
กระยาสารท
มาพูดเรื่องสัพเพเหระไปเรื่อยเปื่อยครับ เจออะไรมาก็เอามาคุยมาบอกเล่ากัน มีประโยชน์บ้างไร้สาระบ้างไปตามเรื่อง ช่วงนี้เป็นช่วงวิกฤติของโลกไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจหรือโรคระบาด ก็ขอให้ท่านผู้อ่านดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจผ่านช่วงเวลาร้ายๆไปด้วยกันอย่างปลอดภัยนะครับ
วันนี้ผมไปเดินจับจ่ายซื้อของที่ "ตลาดไอยรา" บ้านผมอยู่แถวคลองห้ามาที่นี่เดินทางไม่ไกลมาก ที่สำคัญสินค้าใน "ตลาดไอยรา" ราคาค่อนข้างถูกและมีคุณภาพ มีทั้งตลาดสด ซีฟู้ด โซนผลไม้ ของแห้งที่นี่ราคาถูกกว่าที่อื่นในระแวกนี้ ท่านที่จะซื้อของแห้งไปแพ็คขายผมแนะนำให้มาที่ "ตลาดไอยรา" ส่วน "กระยาสารท" ต้องเลยไปอีกนิดไปซื้อที่ตลาดไทยจะมีร้านให้เลือกมากกว่า เรื่องที่จอดรถก็สะดวกสบาย เป็นถนนคอนกรีตอยู่รอบตัวตลาดเลย ผมมาช่วงเก้าโมงสิบโมงที่จอดรถมีให้เลือกเพียบเลย ตลาดเปิดเช้ามมืดถึงสามทุ่มกว่า ช่วงนี้เป็นช่วงเคอฟิวส์ก็ปิดตามเวลาที่เขากำหนดครับ แนะนำตลาดไอยราไว้ เผื่อท่านผ่านไปผ่านมาจะได้แวะมาจับจ่ายซื้อของกัน
"กระยาสารท" ของ "แกร็บไทยโก" ของเราสะดวก สั่งง่าย ส่งไว รวดเร็วทันใจ รสชาติอร่อยแน่นนอน ผมสั่งมาไว้ทานเองที่บ้านหลายซองอยู่ ผมเป็นคนชอบทานขนมหวาน โดยเฉพาะขนมไทย จะมีติดบ้านอยู่เป็นประจำ ช่วงนี้จะเป็น "กระยาสารท" ของ "แกร็บไทยโก" เพราะเก็บไว้ได้นานโดยไม่ต้องกังวล มีวันหมดอายุบอกที่ซองไว้ชัดเจน ที่สำคัญคือ "กระยาสารท" ของ "แกร็บไทยโก" มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย ทำให้รักษาคุณภาพความอร่อยไว้ได้นานจนเราแกะออกมาทานเลยล่ะครับ ผมชอบเอา "กระยาสารท" ของ "แกร็บไทยโก" มาท่านคู่กับการดื่มชารู้สึกว่ามันเข้ากันดีครับ สำหรับท่านที่จะนำ "กระยาสารท ใส่บาตร" ท่านจะมั่นใจได้เลยว่าพระท่านจะได้ฉัน "กระยาสารท" ที่อร่อยอย่างแน่นอน และที่สำคัญคือพระท่านยังเก็บไว้ฉันได้นานเท่าที่ต้องการด้วยครับ
ขนมที่มีอายุยืนยาวอย่าง "กระยาสารท" มีเรื่องราวมากมายแฝงอยู่ในขนมนี้ เราได้เห็นประวัติความเป็นมาของขนมที่มีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรม ที่ทำให้เห็นคุณค่าของกระยาสารท แม้แต่การกวนกระยาสารทในงานบุญต่างๆยังทำให้เราเห็นความสมัครสมาน ร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนนั้นๆ
สมัยก่อนเราเห็นการประดับประดาจัดวาง "กระยาสารท" ไว้ในพานพุ่มที่ประดับประดาอย่างสวยงามด้วยใบตองและดอกไม้ ทำให้เราเห็นความปราณีตพิถีพิถันของคนในสมัยก่อน ทำให้เรารู้สึกได้ของวิถีคนในสมัยนั้นที่ไม่ต้องเร่งรีบ เป็นวิถีชีวิตแบบสโลวไลฟ์ ต่างจากวิถีชีวิตปัจจจุบันที่ต้องเร่งรีบแข่งกับเวลา วิถีชีวิตในยุคเก่ากับยุคใหม่ที่แตกต่าง แต่ "กระกระยาสารท" ก็ยังคงความอร่อยและชื่นชอบของผู้คนอยู่เสมอ ไม่ว่ายุคเก่าหรือใหม่ "กระยาสารท ตราแกร็บไทยโก" ยังคงความอร่อยในแบบของ "กระยาสารทต้นตำรับ" แม้จะอยู่ในซองในแบบของคนยุคใหม่ก็ตามแต่
"กระยาสารท ตราแกร็บไทยโก" บรรจุอยู่ในซองที่ถูกออกแบบมาเพื่อการถนอมอาหาร ทำให้ สะอาด สด ใหม่ เสมอ มีบอกวันหมดอายุอย่างชัดเจน ท่านมั่นใจได้ว่า "กระยาสารท ตราแกร็บไทยโก" คงคุณค่า คุณภาพ ความอร่อย ในแบบของ "กระยาสารทต้นตำรับ" ทุกครั้งที่แกะทาน สนใจใจสั่ง "กระยาสารท ตราแกร็บไทยโก" กดลิ้งด้านบนได้เลยครับ
ขนมไทยส่วนใหญ่ที่มีส่วนผสมของ ถั่ว มะพร้าว กระทิ ทำให้ขึ้นราและเหม็นหืนได้ง่าย ขั้นตอนการผลิตทุกขั้นตอนมีความจำเป็นต่อการป้องกันสิ่งเหล่านี้ เริ่มตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ การรักษาความสะอาดในทุกขั้นตอน บรรจุภัณฑ์ก็มีความสำคัญเป็นอันมากในการรักษาคุณภาพของขนม "กระยาสารท ตราเกร็บไทยโก" สามารถผ่านมาตรฐาน อย. รับรองคุณภาพ ท่านลูกค้าสบายใจได้เลย แม้จะใช้กรรมวิธีที่ทันสมัยในทุกขั้นตอน "กระยาสารท ตราเกร็บไทยโก" ยังคงรักษาความเป็น "กระยาสารทแบบดั้งเดิม" ยังคงเป็น "กระยาสารทต้นตำรับ" ที่แสนอร่อยอยู่เสมอ
ค้นหา
กระยาสารท ขนมกระยาสารท ขายกระยาสารท ร้านกระยาสารท ร้านขนมกระยาสารท ร้านขายกระยาสารท ทำบุญตักบาตร ขนมทำบุญตักบาตร ขนมทานกับชากาแฟ
Tags:
กระยาสารท