เทปเก่าเล่าเรื่อง ห้องเก็บของ ห้องที่เก็บอดีตและความทรงจำ


เทปคาสเซ็ท

อดีตเป็นสิ่งที่ล้ำค่า หลายครั้งหลายคราที่เรา "ถวิลหาวันวาน" คิดถึง รำลึกนึกถึงสิ่งเก่าๆ มันทำให้จิตใจของเราชุ่มชื่นเบิกบานและมีความสุขขึ้นมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ แม้สิ่งเหล่านั้นไม่อาจย้อนคืนกลับมา ขอแค่ได้คิดถึง ได้สัมผัสบางสิ่งบางอย่างจากช่วงเวลานั้น คนที่มีสตางค์ยอมควักกระเป๋าเพื่อซื้ออดีตที่ตัวเองโหยหาแม้จะต้องแลกมาด้วยราคาเท่าไหร่ก็ตาม

ภาพวาด โปสการ์ด โปสเตอร์ ของเล่น ของใช้ ของแลก ของแจก ของแถม  ของเก่าโบราณ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าทางจิตใจแล้วแต่ว่าใครจะปักใจกับสิ่งไหนจากวันวาน ที่ผมยกตัวอย่างเป็นเพียงแค่ส่วนยิบย่อยเท่านั้น บางคนก็เก็บสะสมมาตั้งแต่ตอนที่ของออกมาใหม่ๆ ส่วนผมเองก็เพิ่งไปย้อนเวลาหาอดีตมาเหมือนกันนะครับ แต่ไม่ได้เสียสตางค์ไปซื้ออย่างเขา ไม่ได้ใช้ไทม์แมชชีนหรือผ่านประตูข้ามมิติของโดเรม่อนแต่อย่างใด ผมแค่เปิดประตูเข้าไปในห้องเก็บของเท่านั้นเอง ผมก็เจอกับอดีตและความทรงจำที่เอามาวางเก็บไว้ในห้องเก็บของเต็มไปหมดเลย อ่านจบแล้วท่านผู้อ่านจะลองเข้าไปในห้องเก็บของไปค้นหาอดีตของตัวเองดูบ้างก็ได้นะครับ


วันนี้ผมตั้งใจเข้ามารื้อห้องเก็บของเพื่อจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ได้แต่เอาของมาวางกองเอาไว้  นานแล้วที่ไม่ได้สนใจใยดีกับห้องเก็บของแบบเป็นจริงเป็นจังเลย อะไรที่พอจะใช้ได้ก็เก็บไว้ต่อไป อะไรที่ดูว่าจะใช้การไม่ได้ก็ต้องโล๊ะไปตามระเบียบ ผมเริ่มรื้อของ ค่อยๆปัดกวาด เช็ดถู ไปเรื่อยๆ ของบางอย่างพอหยิบขึ้นมาดูแล้วรู้สึกว่ามันสะกิดถูกต่อมความรู้สึกดีมากๆเลยครับ ดู โน่น นี่ นั่น ไปมันก็ทำเพลินใจดี คิดอะไรล่องลอยไปเรื่อยเปื่อย รื้อของไปก็เหมือนกับย้อนอดีตไปเรื่อยๆ ของแทบทุกชิ้นมันมีความทรงจำของเราอยู่ในนั้น ภาพในอดีตค่อยๆพรั่งพรูออกมา ของอีกอย่างหนึ่งที่ผมลืมมันไปสนิทเลยก็คือ "เทปคาสเซ็ท เหล่านี้"

เทปคาสเซ็ท ตลับเทป

"ตลับเทป" (อังกฤษ Compact Cassette) หรือมักเรียกโดยย่อว่า "เทป" มักหมายถึงเทปเสียงหรือเทปเพลง คือรูปแบบการบันทึกเสียงลงสื่อรูปแบบหนึ่งโดยใช้แถบแม่เหล็ก เทปมีขนาดเล็กสามารถพกพาได้อย่างสะดวก ใช้งานตั้งแต่บันทึกเสียงในบ้านจนถึงเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในไมโครคอมพิวเตอร์ ในช่วงแรกระหว่างต้นทศวรรษ 1970 และปลายทศวรรษ 1990 ตลับเทปเป็นหนึ่งในสองอย่างที่มักใช้ในการบันทึกเสียงเพลง ควบคู่ไปกับแผ่นเสียง ซึ่งต่อมามักใช้เป็นซีดีแทน

คำว่า แคสเซต หรือ คาสเซต (ฝรั่งเศส cassette) มีความหมายว่า ตลับหรือกล่องเล็ก ๆ

ตลับเทปสมัยก่อน

เทปแม่เหล็ก ความยาวเทป ความจุ เป็นเวลา เครื่องที่ใช้เล่นสื่อ หัวเทป
23 นาที ต่อด้าน รวม 46 นาที
30 นาทีต่อด้าน รวม 60 นาที
45 นาทีต่อด้าน รวม 90 นาที
50 นาทีต่อด้าน รวม 100 นาที
60 นาทีต่อด้าน รวม 120 นาที)


ผมสะสมมันมามากมายก่ายกองขนาดนี้เชียวหรือเนี่ย ดูสิเอาเก็บใส่กล่องปิดฝาไว้เป็นอย่างดีเลย เทปคาสเซ็ทเป็นของรักของหวงอย่างหนึ่งของใครหลายคน เราคลุกคลีกับมันมาตั้งแต่เด็กๆ แต่ไม่น่าเชื่อว่า "เทปคาสเซ็ท" จะตกยุคไปแล้ว อยู่ๆก็ถูกคลื่นลูกใหม่เข้ามาแทนที่ซะงั้น สมัยที่ผมเป็นวัยรุ่น สิ่งเหล่านี้เป็นของสามัญประจำบ้านอย่างหนึ่ง ที่ให้ความบันเทิงเริงใจ ความสุขความเพลิดเพลินที่ขาดไม่ได้ ครองใจผู้คนไปทั่วโลก ทุกบ้านทุกสถานที่จะต้องมีเครื่องเล่นและเทปคาสเซ็ทติดอยู่เสมอ ทั้งใชัฟังและเป็นเครื่องประดับอาคารบ้านเรือน แต่อยู่ๆทุกอย่างมันก็หายวับไปอย่างไม่น่าเชื่อ

เทปแต่ละม้วนของผมมีความทรงจำ ความเป็นมาและช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป ม้วนที่เก็บสะสมไว้คือม้วนที่ชอบๆทั้งนั้นเลย อย่างพวกเพลงสากลต่างเนี่ย บางม้วนเก็บมาตั้งแต่สมัยยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้นเลยนะครับ สมัยก่อนเทปพวกนี้มีแผงขายอยู่เกลื่อนเลย ตอนนั้นยังไม่เข้มงวดเรื่องลิขสิทธิ์ ก็อปขายกันอย่างอิสระเลย ราคาม้วนละ 15,18,20 บาท ส่วนเทปเพลงไทยจะแพงกว่า แต่ก็ดีที่เราไม่ค่อยนิยมเทปเพลงไทยก็อป จะซื้อแต่ของแท้ เพราะรู้สึกว่าเสียงมันใสกว่า ชอบตลับและปกเทปด้วย วัยรุ่นสมัยผมจะได้รับอิทธิพลการฟังเพลงมาจากรายการวิทยุเป็นส่วนใหญ่ อย่างเพลงสากลก็จะฟังมาจากรายการ "จิ๊กโก๋ยามบ่าย" ท่านผู้อ่านยังจำกันได้ไหมครับ


ในปี 1935 ก่อนที่จะมีการนำเสนอเทปคาสเซ็ทพกพา (หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่าเทปคาสเซ็ท) บริษัท AEG แห่งประเทศเยอรมนีได้นำเสนอเครื่องอัดเทปแบบ Reel-to-reel เครื่องแรกของโลกในชื่อว่า "Magnetophon" โดยมีเทคโนโลยีพื้นฐานมาจากเทปแม่เหล็กที่คิดค้นโดย Fritz Pfleumer แต่ตัวเครื่องก็มีราคาสูงมาก (ราคาประมาณ 1600 – 3400 ยูโร หากเทียบตามค่าเงินปัจจุบัน) และยังมีขนาดที่ใหญ่ อันเนื่องมาจากต้องใช้หลอดสุญญากาศในการทำงาน ทำให้มีใช้กันเพียงแค่ในสถานีวิทยุหรือห้องอัดเสียงเป็นส่วนใหญ่ ไม่นิยมสำหรับการใช้งานภายในบ้าน และเครื่องอัด Magnetophon ก็ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงในช่วงปี 1950

และในช่วงปี 1960 ก็มีการคิดค้นทรานซิสเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่า ทนทานกว่า และราคาถูกกว่า มาใช้แทนหลอดสุญญากาศ ทำให้ขนาดและราคาของเครื่องอัดที่เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์แทนหลอดสุญญากาศ ลดลงจากเดิมเป็นอันมาก ทำให้มีการใช้เครื่องอัดนี้ตามบ้านเรือนมากขึ้น

จนกระทั่งในปี 1962 บริษัท Philips ได้คิดค้นเทปคาสเซ็ทพกพาออกมา (หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่าเทปคาสเซ็ท) โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สำหรับเพลงโดยเฉพาะ และในต่อมาเทปคาสเซ็ทก็ได้รับความนิยมเหนือระบบเทปแบบอื่นอย่างรวดเร็ว อันเป็นเหตุมาจากที่ฟิลลิปถูกกดดันโดยโซนี่ ให้ปล่อยให้บริษัทอื่นสามารถผลิตเทปคาสเส็ทได้อย่างเสรี และต่อมาฟิลลิปก็ออกเครื่องเล่นและอัด Carry-Corder 150 ในยี่ห้อ Norelco ซึ่งทำให้เทปคาสเซ็ทยิ่งได้รับความนิยมขึ้นไปอีก ในปี 1968 เครื่องเล่นเทปคาสเซ็ทจากกว่า 85 บริษัท สามารถขายออกได้ไปมากถึง 2.4 ล้านเครื่อง

ในช่วงแรกของเทปคาสเซ็ท คุณภาพเสียงที่ได้นั้นยังไม่ดีนัก อยู่เพียงแค่ระดับที่พอฟังได้ แต่มาเข้าสู่ช่วงปี 1970 คุณภาพเสียงของเทปคาสเซ็ทก็ปรับปรุงขึ้นมามาก ส่งผลให้เทปคาสเซ็ทเริ่มกลายเป็นทางเลือกสำหรับคอเพลงคุณภาพสูงบางกลุ่ม แข่งกับแผ่นไวนิลที่เป็นเจ้าตลาดเดิม

ความนิยมของเทปคาสเซ็ทยิ่งพุ่งสูงขึ้นกว่าเดิมในช่วงปี 1980 หลังจากที่โซนี่เปิดตัวเครื่องเล่นพกพา Walkman แต่ว่ากว่าที่ส่วนแบ่งของเทปคาสเซ็ทจะสามารถแซงแผ่นไวนิลได้ ก็ล่วงเข้ามาในช่วงปี 1990 อันเป็นช่วงที่เทปคาสเซ็ทมีความนิยมสูงสุด และค่อยๆ ลดความนิยมลง หลังจากที่ความนิยมของแผ่นซีดีเริ่มเพิ่มมากขึ้น


หยิบเทปแต่ละม้วนขึ้นมาดูไปเรื่อยๆ เหมือนกับว่าสิ่งเหล่านี้เพิ่งผ่านเข้ามาเมื่อไม่นานนี้เอง ดูอย่างเทปของ "วงโลโซ" ยังรู้สึกเหมือนกับว่าเพิ่งไปซื้อมาเอง เทปคาสเซ็ทเหล่านี้เป็นเหมือนส่วนหนึ่งในชีวิตของผมเลยก็ว่าได้เพราะเราเป็นพวกชอบฟังเพลง ฟังมาตั้งแต่เล็กๆ พอโตขึ้นเทปเก่าบางม้วนก็ยังเอามาเปิดฟังในรถเลย เล่นดนตรีก็เริ่มแกะเพลงจากเทปพวกนี้ล่ะ ดูเทปของ "วงแกรนด์เอ็กซ์" ชุด "แกรนด์ XO" ตอนนั้นยังล่ะอ่อนอยู่เลยครับ แต่ตอนนี้เข้าสู่โค้ง  ส.ว. แล้ว 555

ผมเชื่อว่า "เทปคาสเซ็ท" เคยเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของท่านผู้อ่านเหมือนกัน คงนึกถึงภาพความสุขความทรงจำเหล่านั้นได้ใช่ไหมครับ วันนี้ผมคงจะเอาเทปเหล่านี้ไปเปิดฟังรำลึกถึงความหลังกันสักหน่อย เดี๋ยวต้องค้นหา "เครื่องเล่นเทป" กับ"ซาวด์เบ้าท์" ดูก่อนไม่รู้ว่าจะยังใช้งานได้อยู่หรือเปล่า ความจริงนอกจากเทปคาสเซ็ทยังมีอะไรอีกหลายอย่างเลยในห้องเก็บของนี้ที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีต ทำให้ระลึกนึกถึงเรื่องราวของวันวานที่ผ่านมา

ไม่คิดว่าวันหนึ่งสิ่งที่ผมเก็บมากองๆไว้ในห้องเก็บของจะมาสร้างความสุขทางใจให้ในวันนี้ หวังว่าของที่ผมเอามาเก็บต่อจากนี้ไปอีกสิบปีมันคงจะกลับมาสร้างความสุขทางใจให้อีกในอนาคต ตอนนี้ผมคิดว่า "ห้องเก็บของคือห้องที่เก็บอดึตและความทรงจำ" ของผมไปแล้วล่ะครับ

ในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ ส่วนแบ่งตลาดของเทปเพลงค่อยๆ ลดต่ำลงเรื่อยๆ จากจุดสูงสุดในปี 1980 อันเนื่องมาจากการมาของ CD เพลงในช่วงปี 1990, ในปี 1993 มีการส่งมอบเครื่องเล่น CD มากขึ้นมาถึง 5 ล้านเครื่อง (เพิ่มขึ้น 21% จากปี 1992) ในขณะที่เครื่องเล่นเทปเพลง กลับลดการส่งมอบลงไปเหลือเพียง 3.4 ล้านเครื่องเท่านั้น และจนมาถึงปี 2001 ในบรรดาเพลงที่ขายออกไปได้ มีเทปคาสเซ็ทที่ขายได้คิดเป็นเพียงแค่ 4% เท่านั้น และยังคงลดต่อมาเรื่อยๆ และในปี 2007 ยอดขายของเทปเพลงก็เหลือเพียง 247,000 ตลับ และยิ่งเลวร้ายลงไปอีกในปี 2009 ที่เหลือยอดขายเพียง 34,000 ตลับเท่านั้น เทียบกับในปี 1990 ที่มียอดจำหน่ายสูงถึง 442 ล้านตลับ (สถิติในสหรัฐอเมริกา) จากสัญญาณนี้ทำให้ค่ายเพลงหลายๆ ค่าย ได้ลดกำลังผลิต หรือยกเลิกการผลิตเทปเพลงลงตั้งแต่ช่วงปี 2002 – 2003 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังคงมีเทปคาสเซ็ทเปล่าขายอยู่ตามร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป

ในช่วงปี 1990 แม้เครื่องเล่นซีดีจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่เทปเพลงก็ยังคงครองตลาดในบางกลุ่ม เช่นเครื่องเล่นเพลงในรถยนต์ เนื่องจากเทปเพลงมีปัญหาเกี่ยวกับฝุ่น ความร้อน และการกระตุกเมื่อรถสั่น น้อยกว่าซีดีติดรถยนต์ในสมัยนั้น แต่ในเวลาต่อมา เมื่อมีการคิดค้นระบบป้องกันการสั่นสำหรับซีดีติดรถยนต์ รวมถึงระบบเครื่องเสียงภายในรถที่คุณภาพดีขึ้น ทำให้ในช่วงปี 2000 เครื่องเล่นเทปติดรถยนต์ก็ถูกแทนที่ด้วยซีดีติดรถยนต์อย่างรวดเร็ว และกลายมาเป็นเครื่องเล่นเพลงประจำรถในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2010 เครื่องเพลงซีดีติดรถยนต์ก็เริ่มถูกแทนที่ด้วยเครื่องเล่นเพลงที่อ่านข้อมูลจาก USB Flash drives แล้วเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีศิลปินบางกลุ่มที่ยังคงออกผลงานมาเป็นเทปคาสเซ็ท เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายนั้นเป็นผู้สูงอายุ ที่ไม่สนใจที่จะซื้อเครื่องเล่นซีดีนั่นเอง

ในปัจจุบันยังเหลือเพียงบางประเทศเท่านั้นที่ยังคงขายเทปเพลง (เช่นอินเดีย) อันเนื่องมาจากต้นทุนที่ถูกกว่า และในช่วงหลัง การออกผลงานในรูปแบบเทปเพลง เริ่มกลับมาได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ศิลปินอินดี้ อันเนื่องมาจากต้นทุนที่ถูก และสามารถป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ (แชร์เพลงบนอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต) ได้ดีในระดับหนึ่ง


คำที่เกี่ยวข้อง

ตำนาน ของเก่า ใน ประวัติความเป็นมา เรื่องเล่า เรื่องเก่า เล่าเรื่อง ย้อนรอย ย้อนวันวานผ่านมา คิดถึงวันวานผ่านมา ผู้คิดค้น เพลงฮิต เพลงดัง ของวง เพลงเก่ายุค80 เพลงสากล nice and easy ไอเดีย วิธีซ่อมบำรุง ปรับปรุง ทำความสะอาด วิธีจัดให้เป็นระเบียบ จัดให้สวย 2021 2022 1980 กับเรื่องเก่าๆสมัยที่เราเป็นวัยรุ่น เสน่ห์ ขอดี ข้อเสีย คนชอบ คนรัก อนุรักษ์ บูรณะ อยู่ๆก็หายวับไป ที่หายไป หายไปไหน เพลง เก่า สากล สตริง ฮิต รวมฮิต ยุค80 รีวิว ยังมีคนใช้อยู่ไหม ตอนที่เป็นวัยรุ่น ยี่ห้อ ออนป้า อาโซน่า อามีโก้ โซนี่ อาเอสซาวด์ แกรมมี่ นิธิทัศน์ รถไฟดนตรี คีตา เบเกอรี่ ขายหัวเราะ ข้อดี แก้ปัญหาเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์  เสน่ห์แห่งสื่ออนาล็อก เสน่ห์ของสื่ออนาล็อก ประโยชน์แห่งสื่ออนาล็อก ประโยชน์ของสื่ออนาล็อก

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า