Khanomnoon มินิบราวน์นี่ถาด


บราวนี่ Khanomnoon

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน วันนี้ผมจะมานำเสนอเรื่องราวของ "คลองภาษีเจริญ" ในแง่มุมสบายที่ผมไปสัมผัสมา แต่ก่อนอื่นขอนำเสนอ "บราวนี่อร่อยๆ Khanomnoon" เอาไว้ก่อนเผื่อวันไหนท่านอยากทานบราวนี่อร่อยๆจะได้เข้ามากดซื้อผ่านตรงนี้กันครับ ขอฝากท่านผู้อ่านไว้ด้วยนะครับ



วิถีชายคลอง คลองภาษีเจริญ

ผมมักใช้เวลาวันหยุดในการเดินทางไปเที่ยวดูโน่นมานี่คนเดียวแบบสบายๆ ประหยัดเงินตามสไตล์ของคนเงินเดือนน้อย การเดินทางโดยทางเรือเป็นอีกช่องหนึ่งที่ผมมักจะใช้ในการออกไปพจญภัย ท่องโลกในแบบของเรา เป็นความสุขทางใจอย่างหนึ่งครับ วันนี้ผมมาซอกแซกไปตามคลอง "คลองภาษีเจริญ" ดูวิถีชีวิตของคนที่อยู่ชายน้ำ "วิถีชายคลอง" ผมรู้สึกว่าเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย สบายๆไม่เร่งรีบ ได้มาซึมซับความรู้สึกเหล่านี้เหมือนได้เติมพลังชีวิตให้กับเราครับ

เรือเป็นยานพาหนะที่มีมาแต่โบราณใช้ความเร็วได้มากเท่ารถยนต์ เพราะมีแรงต้านจากน้ำ ไปได้เรื่อยๆไม่เร็วมากแต่ปลอดภัยกว่า ชีวิตคนที่ไปเรื่อยๆไม่เร่งรีบ ก็มีความสุข ความสบายใจได้ แถมปลอดภัย เหมือนโดยสารไปกับลำเรือ 

ได้เห็นวิถีชีวิตสองฝากฝั่งคลองทั้งขาไปและกลับ เห็นวัดวาอาราม บ้านสวนริมน้ำ เรือขายของและเรือรับส่งคน ตลาดเก่า ได้แวะลงไปไหว้พระ เดินดูอะไรๆไปเรื่อยเปื่อย ไปตามทางริมคลอง หิวก็แวะซื้ออะไรทานไปเรื่อยๆ ไม่เร่งไม่รีบ ปล่อยชีวิตไปตามสบายสักวัน กินลมชมคลอง ชายคลองอากาศไม่ร้อน ดูน้ำ ดูต้นไม้ใบหญ้า ดูชีวิตคน มันทำให้ใจของผมสงบเย็นเหมือนสายน้ำในคลอง ผมชอบบรรยากาศเหล่านี้เหลือเกิน ถ้ามีเวลาจะแวะมาเยี่ยมเยือนอีกครับ 


สถานที่สำคัญริมคลอง เช่น วัดปากน้ำภาษีเจริญ วัดโคนอน วัดรางบัว วัดนิมมานรดี วัดม่วง วัดหนองแขม

ท่าเรื่อคลองภาษีเจริญ

ท่าเรือประตูน้ำภาษีเจริญ - ออกซอยเพชรเกษม 19 เพื่อไปสถานีรถไฟฟ้า บางไผ่ ของ รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) โดย ฝั่งเหนือ ไปวัดนวลนรดิศ กับ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ส่วน ฝั่งใต้ไปวัดปากน้ำภาษีเจริญกับโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ ได้

ท่าเรืออู่รถเมล์สาย 9 - มีรถประจำทางสาย 4, 9 และ 175 ผ่าน

ท่าเรือประชารัฐ - ฝั่งเหนือ ออกซอยเพชรเกษม 23 เพื่อไปโรงพยาบาลพญาไท 3 และ โรงพยาบาลบางไผ่ ได้

ท่าเรือสะพานตากสิน-เพชรเกษม - เชื่อมต่อสถานี บางหว้า ของรถไฟฟ้าบีทีเอส และ มหาวิทยาลัยสยามได้

ท่าเรือวัดอ่างแก้ว - ฝั่งเหนือ ออกซอยเพชรเกษม 27 ได้ ฝั่งใต้ออกวัดอ่างแก้วได้

ท่าเรือเพชรเกษม 31 - ออกซอยเพชรเกษม 31 เพื่อไปสถานีรถไฟฟ้า เพชรเกษม 48 ของ รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ได้

ท่าเรือวัดรางบัว - ฝั่งเหนือ ออกซอยเพชรเกษม 33 ได้ และ ฝั่งใต้ไปวัดรางบัว

ท่าเรือเพชรเกษม 35 - ฝั่งเหนือ ออกซอยเพชรเกษม 35 เพื่อไปสถานีรถไฟฟ้า ภาษีเจริญ ของ รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และ ซีคอนบางแค ได้

ท่าเรือเพชรเกษม 37 - ฝั่งเหนือ ออกซอยเพชรเกษม 37 เพื่อไปบ้านพักคนชราบางแค ได้

ท่าเรือเพชรเกษม 39 - ฝั่งเหนือ ออกซอยเพชรเกษม 39 เพื่อไป ตลาดบางแค ได้

ท่าเรือวัดนิมมานรดี - ฝั่งเหนือ ออกวัดนิมมานรดี ได้ ส่วนฝั่งใต้ออกตลาดวัดนิมมานรดี ได้

ท่าเรือเกษตร-บางแค - ไปสถานีรถไฟฟ้า บางแค ของ รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ได้

ท่าเรือสะพานกาญจนาภิเษก - ไปสถานีรถไฟฟ้า หลักสอง ของ รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และ เดอะมอลล์บางแค (ห่างจากท่าเรือสะพานกาญจนาภิเษก 2200 เมตร) ได้

ท่าเรือวัดม่วง - ฝั่งเหนือ ออก สถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษมและ ห้างบิ๊กซีบางแค ได้ ส่วนฝั่งใต้ ออก วัดม่วงและ โรงเรียนปัญญาวรคุณได้

ท่าเรือเพชรเกษม 69 - ฝั่งเหนือออกตลาดคลองขวางและ ศาลพระพรหมได้ ได้

ส่วนตารางการเดินเรือโดยสารคลองภาษีเจริญ นั้น จะมีเดิน รอบเช้า ตั้งแต่ 6.00 น. ถึง 9.00 น. และ เดิน รอบเย็น ตั้งแต่ 16.00 น. ถึง 19.30 น. 

โดยวันจันทร์ถึงวันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) จะมีเดินทุก 15 นาที ส่วนวันเสาร์ วันอาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ จะมีเดินทุก 30 นาที 


ประวัติความเป็นมาคลองภาษีเจริญ 

เริ่มต้นที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่และคลองบางขุนศรีมาบรรจบกัน ไปเชื่อมแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร รวมความยาว 28 กิโลเมตร 

โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) เจ้าภาษีฝิ่นเป็นแม่กองขุด 

ใช้เงินภาษีฝิ่นพระราชทานเป็นเงิน 112,000 บาท พระราชทานนามว่า “คลองภาษีเจริญ” 

แล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดคลองในปี พ.ศ. 2415

คลองมีความยาว 620 เส้น กว้าง 7 วา ลึก 5 ศอก 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2428 - พ.ศ. 2429 และ พ.ศ. 2446 ได้มีการขุดลอกอีกครั้ง 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ทำพิธีเปิดคลองเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 

มีประตูน้ำ 2 แห่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2450 เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2452 คือ ประตูน้ำภาษีเจริญตอนนอก อยู่ในเขตภาษีเจริญ และประตูน้ำภาษีเจริญตอนในอยู่ทางด้านแม่น้ำท่าจีน 

คลองภาษีเจริญ ไหลผ่านอาณาเขตเขตภาษีเจริญ เขตบางแค และเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร และอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร


แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า