พูดถึงเพลงคอยทำให้ผมย้อนกลับไปนึกถึงภาพวันวานและเรื่องราวต่างๆในยุค80 เป็นช่วงเวลาที่ผมกำลังเป็นวัยรุ่นพอดี กำลังมีความสุขสนุกกับชีวิตมากๆ ท่านผู้อ่านหลายๆท่านที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับผมคงจะมีความรู้สึกคล้ายๆกัน นึกถึงภาพและบรรยากาศในตอนนั้นได้ แม้ผมจะบรรยายได้ไม่ดีเท่าไหร่ เพราะเราผ่านเหตุการณ์เหล่านั้นมาเหมือนกัน
นึกถึงคอนเสิร์ตโลกคนตรี คิดถึงห้างมาบุญครอง ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว เดอะสเก็ต เดอะพาเลซ รถซิ่งแถววิภาวดี สวนสยาม แดนเนรมิตร รายการจิ๊กโก๋ยามบ่าย ความจริงยังมีอะไรอีกเยอะแยะที่ผมไม่ได้พูดถึงกลัวมันจะยาวเกินจนท่านผู้อ่านไม่อยากอ่านต่อถ้าผมเขียน "พี่วิทย์" นักร้องนำของวงเป็นที่ชื่นชอบมากๆของวัยรุ่นในยุคนั้น ชื่อจริงคือ "ประวิทย์ พงษ์ธนานิกร" พี่วิทย์เป็นผู้นำเทรนด์ "เด็กแนวตี๋ๆ" ที่ทำให้วัยรุ่นสมัยนั้นหันมานิยมแนวตี๋ เหมือนกับสมัยนี้ที่นิยมแนว "เกาหลี" อารมณ์เดียวกันเลยล่ะครับ
วงฟรีเบิร์ดส์ สังกัด "ค่ายรถไฟดนตรี" ในยุคนั้นเป็นช่วงรุ่งเรื่องของค่ายรถไฟดนตรี "พี่ระย้า" เจ้าของค่ายคนเก่งใจดี สร้างศิลปินเก่งๆออกมามากมาย อาทิ เช่น
เพลงดังๆของวง ฟรีเบิร์ดส์ เช่น คอย สิ่งสุดท้าย...คือเธอ สาวน้อย จบเกมส์ พบเธอ ความผันแปร รักที่สูญเปล่า รอยแผลที่ดวงใจ คนที่ถูกใจ ยังมีอีกหลายเพลงนะครับที่เป็นเพลงดังๆ นึกถึงรายการโลกดนตรีในยุคแรกๆ ที่วัยรุ่นในยุคนั้นจะนิยมไปดูคอนเสิร์ตที่ ททบ5 ทุกวันอาทิตย์ตอนเที่ยงตรง สถานที่แห่งนี้เหมือนเป็นจุดนัดพบของวัยรุ่น "คุณเสกสรร ภู่ประดิษฐ์" พิธีกรและผู้จัดรายการขวัญใจวันรุ่นจะนำวงดนตรีที่พวกวัยรุ่นอย่างเราชื่นชอบมาเล่นคอนเสิร์ตให้เราได้รับชมกันทุกสัปดาห์ จะมีการโฆษณาบอกให้เรารู้ล่วงหน้าก่อนว่าสัปดาห์ต่อไปจะเป็นวงอะไร เพื่อที่แฟนเพลงจะได้เตรียมเนื้อเตรียมตัวไปดูกัน
วงฟรีเบิร์ดสทำให้โลกดนตรีต้องเลิกจัดคอนเสิร์ตในห้องส่งย้ายออกมาจัดกันด้านนอก เพราะคอนเสิร์ตของวงฟรีเบิร์ดสมีคนมาดูมากจนล้นออกมาจากห้องส่งเบียดเสียดกันจนประตูห้องส่งพังเลยล่ะครับ จากนั้นเป็นต้นมาคอนเสิร์ตโลกดนตรีจึงออกมาจัดกันอยู่ด้านนอกอย่างที่เราเห็นครับ ท่านผู้อ่านเคยไปสัมผัสกับบรรยากาศเหล่านี้มาบ้างไหมเอ่ย ผมเชื่อว่าจะต้องมีอย่างแน่นอน อ่านมาถึงตรงนี้พอนึกถึงภาพวันเก่าๆตอนที่เราเป็นวัยรุ่นกันได้บ้างไหมครับ
สมัยก่อนการไปชมคอนเสิร์ตไม่วุ่นวายเลยครับ นั่งดูกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย วัยรุ่นในยุคนั้นต่างจากยุคนี้อย่างมากเลยล่ะครับ สมัยนี้มีเรื่องกระทบกระทั่งกันง่ายมากถ้ามีการรวมกลุ่มกัน แต่ในยุคก่อนๆทุกอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยที่ไม่ต้องมีใครมาบอก หากมีปัญหาอะไรก็ขอความร่วมมือได้ง่ายๆ อยากให้คนสมัยนี้ใจเย็นๆได้เหมือนในสมัยก่อน โลกของเราจะเย็นลงมากเลย สมัยนี้คนใช้อารมณ์ไม่ค่อยมีเหตุผล เอะอะก็ใช้กำลัง จึงมีปัญหาเกิดขึ้นอย่างที่เราประสบกันอยู่ในทุกวันนี้ครับ
ชรัส เฟื่องอารมย์
สาว สาว สาว
วงสปาย
จำรัส เศวตาภรณ์
ปะการัง
ภูสมิง หน่อสวรรค์
ภูสมสนุก หน่อสวรรค์
พัณนิดา เศวตาสัย
บุปผา ธรรมบุตร
สุชาติ ชวางกูร
ชัยรัตน์ เทียบเทียม
ชัชชัย สุขาวดี (หรั่ง ร็อคเคสตร้า)
ฤทธิพร อินสว่าง
อินโดจีน
ศุ บุญเลี้ยง
ปฐมพร ปฐมพร
กิตติ กาญจนสถิตย์
วงโฮป
สายใจ วลี
พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
เล็ก คาราบาว
จรัล มโนเพ็ชร
คนด่านเกวียน
ซูซู
โดม มาร์ติน
คาไลโดสโคป
แอน มรกต มณีฉาย
เป๊ก บลูสกาย
เอ-ม็อบ
แก้ว ลายทอง
หนู มิเตอร์
หนุ่มสกล
พิทักษ์ เสริมราษฎร์
รอน อรัณย์
อมตะ
ประกาศิต
วงสิมิลัน
รุ่งเพชร แหลมสิงห์
เดวิด อินธี
อ้อย กะท้อน
กษาปณ์ จำปาดิบ
สมรักษ์ คำสิงห์
ป๋อง ณ ปะเหลียน
สมชาย ใหญ่
ฌามา
วงสันติภาพ
จุฬาลักษณ์ กฤติยารัตน์
สไมล์บัฟฟาโล่
วงกระดังงา
จอมขวัญ กัลญากร
แอร์ สุชาวดี
สุ ไทรงาม
วารุณี สุนทรีสวัสดิ์
สมัยนั้นรถไฟดนตรีครองความเป็นหนึ่งของวงการเพลงในบ้านเรา มีเพลงฮิตติดตลาดมากมายร้องกันทั่วบ้านทั่วเมือง วันอาทิตย์ช่วงบ่ายๆผมยังจำรายการโปรดทางวิทยุที่รถไฟดนตรีจัดรายการ20เพลงอิตประจำสัปดาห์ เป็นครั้งแรกของเมืองไทยที่ทำรายการแนวนี้ เริ่มจากอันดับที่ยี่สิบ จนถึงอันดับหนึ่งที่เปิดเป็นเพลงสุดท้าย
ความจริงยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่ผมยังไม่ได้เล่าถึงในบรรยากาศยุคนั้น อย่างเช่น เรื่องของเทปคาสเซ็ท รายการจิกโก๋ยามบ่าย เดอะพาเลซ ลานสเก็ตเซ็นทรัลลาดพร้าว สยาม มาบุญครอง และอื่นๆอีกมากมายที่เป็นความประทับใจอยู่ในความทรงจำในยุค80 ไว้ผมจะมาคุยให้ฟังอีกนะครับ
ปัจจุบันวงฟรีเบิร์ดส์ยังมีผลงานเพลงใหม่ๆออกมาเรื่อยๆ ติดตามผลงานได้ทางยูทูปนะครับ