ขนมเปี๊ยะอร่อย 12 ลูก คละรส แป้งบาง แป้งโมจิ แป้งนุ่ม (Popular Chinese Pastry) ขนมที่ทำด้วยหัวใจ

ขนมเปี๊ยะสมุทรปราการ

ขนมเปี๊ยะอร่อย 12 ลูก คละรส
 
แป้งบาง แป้งโมจิ แป้งนุ่ม (Popular Chinese Pastry)

ขนมเปี๊ยะยอดฮิต 12 ลูก 120 บาท

1 กล่อง มี 5 รส ถั่วไข่เค็ม/ เผือก/ ส้มไส้ถั่วกวน/ ชาเขียวไส้ถั่วแดง/ อัญชันไส้งาดำ

บรรจุ 500-700 กรัม ออเดอร์ขนมเปี๊ยะวันนี้ จัดส่งให้รอบที่เร็วที่สุดครับ

รับรองว่า ลูกค้าจะได้ทานขนมเปี๊ยะสดใหม่ อบใหม่ๆทุกวันครับ

มาลองชิมนะครับ ** เรามั่นใจในความอร่อย และพิถีพิถันใส่ใจรายละเอียดทุกขั้นตอนการผลิต 

ทุกขั้นตอนทำด้วยมือ ขนมเปี๊ยะเกรดพรีเมียม บ้านเราร่วมโครงการโอท็อป จ.สมุทรปราการด้วยนะครับ

ลูกค้าที่ได้ลองทานแล้วติดใจทุกคนเลยนร้า ลองเลยครับ 

ขนมที่ใช้หัวใจทำเรื่องความอร่อยไม่ต้องห่วง 

ขนมเปี๊ยะบ้านป.อ.ปลา รับรองความอร่อย ทานแล้วติดใจ ซื้อต่อแน่นอนจร้า ไม่เคยทำให้ใครผิดหวังนะจ้ะ


ขนมที่ทำด้วยใจ

ขนมในกล่องที่เราแกะทานมีบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในนั้นโดยที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า นั่นคือ "ความตั้งใจของคนทำขนม" ความพิถีพิถันในทุกขั้นตอนด้วยความหวังที่จะสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ที่ได้ทานขนมนั้น สองมือที่บรรจงปั้นสรรค์สร้างขนมแต่ละชิ้นออกมามีหัวใจคอยควบคุมการทำงาน ทำให้สิ่งที่ทำออกมามีคุณค่า นั่นคือคำตอบว่าทำไมอาหารเกรดพรีเมี่ยมถึงได้ใช้คนทำ 

เครื่องจักรมีการบันทึกโปรแกรมไว้แล้วทำงานไปตามคำสั่งนั้น ผลิตออกมาทีละมากๆ ออกมาเรื่อยๆทำออกมาได้เหมือนๆกันทุกครั้งโดยคำสั่งเครื่องที่ไร้หัวใจ อยากได้มากแค่ไหนก็เร่งกำลังการผลิตได้ตลอดเวลา เน้นในเรื่องของปริมาณมากกว่าคุณค่า 

ผมเขียนบทความสั้นๆนี้ขึ้นมาเพื่ออยากชี้ให้ท่านมองเห็นคุณค่าของสินค้าที่ ทำออกมาด้วยหัวใจ ไม่อยากให้มองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป มีหลายเจ้าที่ทำผลิตภัณฑ์ของตัวเองออกมาด้วยความตั้งใจ จึงอยากให้ช่วยกันสนับสนุนสิ่งดีๆที่มีคุณค่าเหล่านี้ไว้ให้คงอยู่ต่อไป

ช่วงเวลานี้ภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ มีโรคระบาด โดนกันไปทั่วหน้า จึงอยากให้เราหันมาช่วยกันอุดหนุนสินค้าไทยเพื่อกระจายรายได้ ทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ ยื่นมือมาช่วยคนไทยด้วยกันก่อน และที่สำคัญอย่าท้อแท้สิ้นหวังกำลังใจ อีกไม่นานทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องดีกว่าเก่าอย่างแน่นอนครับ

ขนมเปี๊ยะปากน้ำ

เทศบาลเมืองปากน้ำอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ไม่ไกลจากกรุงเทพฯเลยนะครับ ถ้ามาที่นี่จะมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายให้ท่านได้ไปเยี่ยมชมกัน เช่น วัดวาอาราม โบราณสถาน สถานที่สำคัญทางประวัติศาตร์อย่างเช่นป้อมพระจุล เมืองโบราณ ฟาร์มจรเข้ เป็นต้น ของกินขึ้นชื่อ ร้านดังๆก็มีมากมายหลายที่อีกเช่นกัน เดี๋ยวนี้ค่อนข้างสะดวกสบายครับ สิ่งที่ผมกล่าวมาเสิร์ชหาในกูเกิ้ลก็ขึ้นมาเพียบแล้วล่ะครับ จะมาเที่ยวกันก็ค้นดูได้ทันที แล้วก็อย่าลืม "ขนมเปี๊ยะปากน้ำ" นะครับ


ขนมเปี๊ยะเกรดพรีเมี่ยม

ขนมเปี๊ยะ อร่อยเกรดพรีเมี่ยม ทำด้วยสองมือและหัวใจของผู้ผลิต หากท่านจะหา "ขนมเปี๊ยะเกรดพรีเมี่ยม" ลองหันมาพิจารณาขนมเปี๊ยะของเราดูก่อนนะครับ ของดีราคาชาวบ้าน จะสั่งไปทำบุญ เป็นของขวัญของฝากหรือจะทานเองก็เหมาะเจาะกับทุกโอกาสเลยครับ

ขนมเปี๊ยะโอทอป

ขนมเปี๊ยะของเราทุกขั้นตอนทำด้วยมือ ขนมเปี๊ยะเกรดพรีเมียม บ้านเราร่วมโครงการโอท็อป จ.สมุทรปราการด้วยนะครับ ลูกกค้าที่ได้ลองทานแล้วติดใจทุกคนเลยนร้า ฝากทุกท่านช่วยเป็นกำลังใจและอุดหนุนสินค้าด้วยนะครับ สนใจก็กดเข้าสั่งสินค้ากันได้เลย สั่งง่าย ส่งไว ทันใจ ทั่วประเทศ

ปากน้ำ

บริเวณตำบลบางเมืองเดิมเป็นหมู่บ้านเกษตรกร มีชุมชนอยู่ในตอนกลางของพื้นที่ ส่วนพื้นที่รอบนอกเป็นทุ่งนา จากสภาพดังกล่าวที่มีบ้านเรือนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มจึงเป็นที่มาของชื่อ "บางเมือง" กล่าวคือ เป็นศูนย์รวมของบ้านเรือน เมื่อจะทำนาก็จะเดินทางออกมาในเขตรอบนอกซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางมาก

ต่อมาได้มีการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรที่ดินขึ้น มีประชาชนเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จนต้องแบ่งเขตปกครองออกเป็น 2 ส่วน คือ สุขาภิบาลและสภาตำบล ส่วนที่เป็นสุขาภิบาลจะเป็นส่วนบ้านเรือนประชาชนในเขตที่ดินจัดสรร ส่วนพื้นที่ที่ทำนาจะอยู่ในส่วนสภาตำบล 

ในช่วงนี้ประชาชนเริ่มเปลี่ยนอาชีพจากทำนาหันมาเลี้ยงปลาสลิดเป็นบางส่วน บางส่วนขายที่ดินไปจนเข้าระบบที่ดินหมู่บ้านจัดสรร ทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นมากตามลำดับ มีการสร้างวัดขึ้น 1 แห่ง คือ วัดคลองบางปิ้ง และโรงเรียน 2 แห่ง คือ โรงเรียนคลองมหาวงษ์และโรงเรียนคลองบางปิ้ง 

เขตสภาตำบลเดิมมีชุมชนอยู่ 2 หมู่บ้าน คือ บ้านบางปิ้งและบ้านคลองนา ต่อมาประชากรเพิ่มมากขึ้น บ้านบางปิ้งจึงแยกเป็นหมู่ที่ 8 ชุมชนบางปิ้ง ส่วนบ้านคลองนาแบ่งเป็น 2 หมู่คือ หมู่ที่ 4 บ้านคลองนา และหมู่ที่ 9 บ้านพัฒนาสุข

ประมาณปี พ.ศ. 2537–2538 รัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทยมีนโยบายที่จะพัฒนาและส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สภาตำบลบางเมืองมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลบางเมือง เริ่มก่อตั้งด้วยจำนวนหมู่บ้าน 4 แห่ง คือ 

บ้านบางปิ้ง (หมู่ที่ 6), ชุมชนบางปิ้ง (หมู่ที่ 8), บ้านคลองนา (หมู่ที่ 4), และบ้านพัฒนาสุข (หมู่ที่ 9) มีสมาชิกจากการเลือกตั้ง 8 คน จากผู้ใหญ่บ้าน 4 คน แพทย์ประจำตำบล 1 คน และกำนันประจำตำบล 1 คน รวมสมาชิกเริ่มก่อตั้ง 14 คน 

การก่อตั้งครั้งแรกยังไม่มีที่ทำการ จึงใช้ที่ทำการอำเภอเป็นที่ทำการชั่วคราว จนปี พ.ศ. 2540 จึงได้ย้ายที่ทำการมายังหมู่บ้านศรีเอกสยามในพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลบางเมือง และย้ายเข้าในโครงการบ้านพนาสนธิ์ จนสมาชิกสภาหมดวาระที่ 1

ปี พ.ศ. 2543 จำนวนประชากรหมู่ที่ 6 บ้านบางปิ้ง มีจำนวนมาก ประกอบกับพื้นที่ไม่อำนวยต่อการพัฒนาจึงได้ขอแบ่งแยกหมู่ที่ 6 ออกเป็น 2 หมู่บ้าน โดยแบ่งแยกหมู่ที่ 10 บ้านทรัพย์บุญชัย ออกมา 1 หมู่บ้าน และเลือกสมาชิกเพิ่มเติมอีก 2 คน นับแต่นั้นมา 

ตำบลบางเมืองในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางเมืองจึงแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 หมู่บ้าน สมาชิกสภาทั้งหมด 10 คน มีนายศิริ จั่นฮวบ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางเมือง

ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลบางเมืองได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ

สมุทรปราการ

สมุทรปราการ เป็นเมืองที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ เนื่องจากที่ตั้งเป็นเขตยุทธศาสตร์ทางน้ำ คำว่า “สมุทรปราการ” มาจาก คำว่า “สมุทร” ซึ่งแปลว่าทะเล และ “ปราการ” ที่แปลว่า กำแพง จึงมีความหมายโดยรวมว่า “กำแพงริมน้ำ” 

และหากย้อนหลังไป 800 ปีเศษ ชนชาติขอมซึ่งมีความรุ่งเรืองอยู่ ในขณะนั้นได้สร้างเมืองพระประแดงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านซึ่งสันนิษฐานว่า ในปัจจุบันคือบริเวณท่าเรือคลองเตย และต่อมาแผ่นดินบริเวณรอบเมืองพระประแดงนั้นได้งอกออกไปในทะเล

โดยทิศใต้แผ่นดินงอกถึงแถบตำบลปากคลองบางปลากดซึ่งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา และทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาแผ่นดินได้งอกถึงบริเวณตำบลบางด้วน บางหมู และบางนางเกรง ทำให้เมืองพระประแดงมีความสำคัญลดลง เนื่องจากอยู่ห่างจากบริเวณปากแม่น้ำ 

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2163 – 2171 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้โปรดให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นใหม่ เพื่อเป็นเมืองปากน้ำหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา และใช้เป็นสถานที่ทำการค้าขายกับชาวฮอลันดาโดยทรงพระราชทานที่ดินบริเวณคลองบางปลากด ให้ชาวฮอลันดาไว้เป็นเมืองการค้าซึ่งเรียกว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม”

งานพระสมุทรเจดีย์

“พระสมุทรเจดีย์” หรือ “พระเจดีย์กลางน้ำ” ถือเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง และเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ที่ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัด โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นกลาง และถือว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ เดิม “พระสมุทรเจดีย์” สร้างเป็นแบบย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทอดพระเนตรสภาพทั่วไปของพระสมุทรเจดีย์ ทรงมีพระราชประสงค์จะสถาปนาให้สูงขึ้นไปอีก เพื่อให้เรือของชาวต่างประเทศที่เข้ามาจะได้แลเห็นพระสมุทรเจดีย์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างไปถ่ายแบบพระเจดีย์ลอมฟางที่กรุงศรีอยุธยา แล้วโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นราชสีหวิกรมเป็นนายช่างจัดการสร้างพระเจดีย์แบบลอมฟางครอบพระเจดีย์เดิม นอกจากนี้ยังทรงสร้างศาลาเก๋งจีน, หอเทียน, หอระฆัง, พระวิหาร และพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร พร้อมหลักผูกเรือริมน้ำรอบองค์พระสมุทรเจดีย์ และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ 12 องค์ จากพระบรมมหาราชวังแห่มาทางชลมารคบรรจุไว้ตามโบราณราชประเพณี ทรงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่จนเป็นประเพณีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับ “งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์” ถือเป็นงานสำคัญระดับจังหวัด ที่ปฏิบัติสืบเนื่องมานับตั้งแต่สร้างองค์พระเจดีย์ งานนมัสการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 11 บริเวณลานจอดรถรอบองค์พระและหน้าศาลากลางฝั่งจังหวัด ช่วงเช้ามีการแห่ผ้าห่มองค์พระเจดีย์ไปรอบเมือง ก่อนนำลงเรือแห่ไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้นจึงทำพิธีเปลี่ยนผ้าผืนเก่าแล้วอัญเชิญผ้าสีแดงใหม่ขึ้นห่ม โดยคนในตระกูลรุ่งแจ้งซึ่งปฏิบัติมาสี่ชั่วอายุคนแล้ว ชาวปากน้ำเชื่อกันว่าต้องเป็นคนในตระกูลนี้เท่านั้นจึงจะขึ้นไปห่มผ้าองค์พระสมุทรเจดีย์ได้

ภายในงานมีการออกร้านของหน่วยงานราชการและเอกชนมากมาย เช่น มหรสพเฉลิมฉลองภาพยนตร์, ดนตรี, จับสลากการกุศล, การออกร้านของกินของใช้ และเครื่องเล่นต่าง ๆ ถือได้ว่าเป็นงานวัดเก่าแก่เต็มรูปแบบใกล้กรุงเทพฯ ที่ยังหลงเหลืออยู่ ตลอดงานจะมีการประดับดวงไปรอบองค์พระสมุทรเจดีย์อย่างงดงาม รวมทั้งได้จัดให้มีงานนมัสการพระสมุทรเจดีย์เป็นงานประจำปีที่สำคัญของจังหวัด โดยกำหนดเอาวันแรม 5 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีเป็นวันเริ่มงาน ซึ่งก่อนเริ่มงานประมาณวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชายและหญิง พร้อมใจกันเย็บผ้าแดงผืนใหญ่สำหรับห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ พอถึงวันแรม 5 ค่ำ เดือน11 คณะกรรมการจัดงานจะอัญเชิญผ้าแดงตั้งบนบุษบกแห่ไปรอบ ๆ ตัวเมือง และอัญเชิญผ้าแดงลงเรือแห่ไปตามลำน้ำเจ้าพระยาจนถึงอำเภอพระประแดง เพื่อให้ชาวอำเภอพระประแดงร่วมอนุโมทนา จากนั้นจึงแห่กลับมาทำพิธีทักษิณาวรรตรอบองค์พระสมุทรเจดีย์ ก่อนนำผ้าขึ้นห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ ซึ่งเป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า