จนมาถึงยุคปัจจุบันชีวิตของคนเราก็ยังอยู่กับการคิดคำนวณบวกลบคูณหารทั้งสิ้น ออกไปทานก๋วยเตี๋ยวต้องจ่ายตังค์ ซื้อข้าวของ ยิ่งตอนเงินเดือนออกสำหรับผม เงินเดือนเป็นตัวตั้งแลัวก็ลบด้วยค่าใช้จ่าย ส่วนใหญ่จะติดลบ555 เมื่อมีตัวเลขก็มีเรื่องของการคิดคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้อง บวก ลบ คูณ หาร ที่เป็นพื้นฐานของการใช้ชีวิตประจำวัน จำนวนน้อยๆยังพอคิดได้แต่ถ้าจำนวนมากขึ้นก็ยิ่งต้องเสียเวลาคิดมากขึ้น คิดผิดบ้างคิดถูกบ้าง เลยเป็นจุดเริ่มต้นของการคิดเครื่องมือมาช่วยเพื่อให้การคิดคำนวณง่ายขึ้น
เป็นเครื่องมือสำหรับใช้คำนวณ นับเป็นเครื่องคิดเลขยุคแรกๆ ของโลก ประกอบด้วยโครงสี่เหลี่ยม และมีแกนร้อยตัวลูกคิดกลมๆ สำหรับใช้นับเลข สามารถเลื่อนขึ้นลงได้ ลูกคิดแบบเชิงกลเช่นนี้มีด้วยกันหลายแบบ และหลายภูมิภาค เช่น บาบิโลน โรมัน จีน ญี่ปุ่น แต่ที่รู้จักกันดีคือลูกคิดแบบจีน ยังมีลูกคิดแบบที่ใช้ในจินตคณิต ซึ่งจะมีแถวบนเพียงลูกเดียวด้วย หรือเรียกว่าลูกคิดญี่ปุ่น วิธีการใช้ลูกคิด จะใช้การนับเม็ดลูกคิดผ่านหลักการนับที่เป็นสูตร ในการเพิ่มลดจำนวนช่วย.กว่า 2000 ปีมาแล้วที่ลูกคิดเป็นเครื่องช่วยคำนวณอยู่คู่มนุษย์มาจนถึงปัจจุบัน
เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับดำเนินการทางเลขคณิตพื้นฐานหรือซับซ้อน มักมีขนาดเล็ก พกพาได้ และราคาไม่แพง เริ่มมีจำหน่ายในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ปัจจุบันแม้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์ เครื่องคิดเงิน เกมส์ ฯลฯ จะมีโหมดคิดเลขติดมาด้วยจดดูเหมือนว่าเครื่องคิดเลขแทบจะหมดความหมายไปแล้ว แต่ความจริงเครื่องคิดเลขยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะธุรกิจการค้าขายต่างๆจะขาดเครื่องคิดเลขไม่ได้เลย
ตัวเลขมีอิทธิพลต่อความเชื่อของมนุษย์ทั่วโลก อย่างเช่น โหราศาสตร์ ฤกษ์ยาม เลขดี เลขไม่ดี ฯลฯ คนบางคนแม้มีความคิดขัดแย้งแต่ก็ยังอยู่ใต้ความเชื่อของตัวเลข อย่างเช่น เบอร์โทร ทะเบียนรถ เลขที่บ้าน ฯลฯ
จะพาไปดูวิวัฒนาการของเครื่องคิดเลขกัน
รูปประกอบบางบางรุ่นก็ไม่มีนะครับ
หลังหมดยุคเครื่องคิดเลขเครื่องกล การมาของเครื่องคิดเลขไฟฟ้าก็เข้ามาแทนที่ โดยเริ่มในช่วงท้ายของยุค 1930 เพราะสงครามทำให้กองทัพต้องการเครื่องที่คำนวณตรีโกณมิติออกมาได้รวดเร็วและแม่นยำ และเครื่องคิดเลขไฟฟ้าเครื่องแรกก็กำเนิดขึ้นมาในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า Colossus เพื่อตอบสนองความต้องการของกองทัพ
ต่อมา มนุษย์สามารถคิดค้นหลอดสุญญากาศในขนาดเล็กลงขึ้นมาได้ ทำให้เครื่องคิดเลขไฟฟ้าถูกพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น ANITA เป็นบริษัทแรกที่สร้างเครื่องคิดเลขไฟฟ้าแบบตั้งโต๊ะขึ้นมาได้เป็นครั้งแรกในปี 1961 และกลายเป็นเจ้าตลาด ก่อนที่ภายหลังจะมีคู่แข่งขึ้นมามากมาย
เครื่องคิดเลขถูกพัฒนาเปลี่ยนมาใส่ถ่านแทนการเสียบปลั๊ก หลังจากนั้นเครื่องคิดเลขก็ถูกย่อลงให้เล็กลงเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นแบบที่เราเห็นกันในทุกวันนี้ และในภายหลัง โทรศัพท์มือถือได้ถูกคิดค้นขึ้นมา ‘โปรแกรมเครื่องคิดเลข’ ก็ถูกใส่เข้ามาในมือถือแทบจะทุกรุ่น ตั้งแต่ยุค Nokia มาจนถึงยุคสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน ซึ่งมันก็สามารถใช้ทดแทนเครื่องคิดเลขได้อย่างไร้ที่ติ หากใช้เพียงแค่ฟังก์ชันพื้นฐานอย่างบวก ลบ คูณ และหาร
เครื่องคิดเลขในปัจจุบันและสมาร์ทโฟน
เมื่อพูดถึงเครื่องคิดเลขแล้ว เชื่อว่าต้องเป็นอุปกรณ์ที่แทบทุกบ้านต้องมีติดไว้อย่างแน่นอนนอกจากเครื่องเขียน งานฝีมือต่างๆ โดยเฉพาะในบริษัท โรงเรียน โรงงาน ร้านค้าแทบทุกร้าน เพราะถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถคิดเลขได้อย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย ประหยัดเวลา และที่สำคัญคือมีความถูกต้องแม่นยำด้วย ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจว่าเครื่องคิดเลขมีเพียงประเภทเดียว หรือมีรูปแบบที่เหมือนกันไปหมด แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะการใช้งานในแต่ละอาชีพแต่ละความถนัดจะมีการใช้การคิดคำนวณที่แตกต่างกัน มีความซับซ้อนในการคิดทำให้ต้องอาศัยเครื่องคิดเลขที่เป็นแบบเฉพาะทาง อย่างเช่น เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ เครื่องคิดเลขสำหรับนักบัญชี หรือเครื่องคิดเลขวิศวะ เป็นต้น ทำให้บางครั้งอาจจะอาศัยการคิดเลขจากในมือถือทั่วไปหรือใช้การคิดแบบธรรมดาไม่ได้ เพราะส่วนมากจะมีแต่ฟังก์ชันพื้นฐานเพียงเท่านั้น
เครื่องคิดเลขพกพาแบบเฉพาะทางจึงกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการเรียนหรือการทำงานที่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะด้านเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นเครื่องใช้สำนักงานและอุปกรณ์เบ็ดเตล็ดสำหรับโรงเรียนหรือบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ที่ต้องมีไว้ และประกอบดับเดี๋ยวนี้ที่เครื่องคิดเลขไม่ได้มีขนาดใหญ่เหมือนเมื่อก่อน โดยจะถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็กกะทัดรัดขึ้น น้ำหนักเบาขึ้นและยังเต็มไปด้วยฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครัน เรียกได้ว่าสามารถคำนวณตัวเลขออกมาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องไม่มีผิดเพี้ยนเลยทีเดียว ทำให้สะดวกสบายต่อการใช้งานในทุกสาขาอาชีพ สามารถพกพาและหยิบจับขึ้นมาใช้ได้ง่ายอีกด้วย
ในส่วนของการเลือกซื้อเครื่องคิดเลขนั้นควรคำนึงถึงการใช้งานเป็นสำคัญ โดยดูว่าเราต้องการฟังก์ชันการใช้งานแบบไหน เป็นการคำนวณที่ต้องใช้ฟังก์ชันเฉพาะทางหรือการคิดคำนวณแบบปกติทั่วไป และเครื่องแบบไหนที่สามารถใช้ในการทำงานได้สะดวกที่สุด นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นปัจจัยเสริมต่าง ๆ เช่น ยี่ห้อหรือรูปทรง เป็นต้น