"ลิซ่า Black Pink อยากกิน" ลูกชิ้นยืนกิน จิ้ม น้ำจิ้มสูตรพริกเผา ที่แม่เคยพาไปกินตอนเป็นเด็ก เจ้าอร่อยที่แถวหลังสถานีรถไฟบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ การคุยกันกับ "ลลิษา มโนบาล"หรือที่รู้จักกันในชื่อ " ลิซ่า Black Pink" ใน "รายการวู้ดดี้โชว์" ทำให้คนกล่าวขานถึง "ลูกชิ้นยืนกิน" กันทั่วบ้านทั่วเมืองแค่ช่วงเวลาข้ามคืน แต่ทำไมลิซ่าถึงได้ติดอกติดใจจนพูดถึง สิ่งแรกที่ขาดไม่ได้คือความอร่อยของตัวลูกชิ้นและน้ำจิ้ม ถ้าพูดถึงบรรยากาศร้านที่บุรีรัมย์เหมือนเป็นจุดกลางให้คนมารวมกลุ่มกันยืนทานลูกชิ้น มีน้ำจิ้มให้จิ้ม มีผักให้แกล้ม ลูกชิ้นทอดใหม่ๆร้อนๆ กินเสร็จแล้วค่อยคิดสตางค์ มันเป็นการช่วยเพิ่มรสชาติอีกอย่างหนึ่งด้วยครับ
ผมขอฝาก "ลูกชิ้นยืนกิน" ไว้ด้วยนะครับ เผื่อวันไหนท่านผู้อ่านอยากทานจะได้เข้ามากดเข้าสั่งจากตรงนี้ ทั้ง "ลูกชิ้น ไส้กรอก และน้ำจิ้ม" สินค้าอร่อยดีมีคุณภาพมั่นใจได้แน่นอน มีตำแหน่ง "แช้มปโลก2สมัย" การันตีความอร่อย ฝากท่านกดสั่งสินค้าจากตรงนี้เพื่อเป็นกำลังใจและสร้างรายได้ให้กับเว็บของเราอีกด้วย ขอบคุณครับ
แนะนำสินค้าเสร็จแล้วเอาสาระความรู้มาฝากท่านผู้อ่านกันต่อนะครับ พูดถึงจังหวัดบุรีรัมย์ที่ "ลิซ่า Black Pink" เคยอยู่ที่นั่น ปัจจุบันเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างดีทีเดียวครับ "คุณ เนวิน ชิดชอบ" ได้ทำพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ทำให้มีสนามกีฬาระดับโลก เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจและอาชีพต่างๆเติบโตไปตามๆกัน ชาวต่างชาติบางส่วนมาประเทศไทยโดยมุ่งตรงไปที่จังหวัดบุรีรัมย์กันไม่น้อย ผมมีสาระและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของจังหวัดบุรีรัมย์มาฝากไปอ่านกันเลยนะครับ
บุรีรัมย์
จังหวัดบุรีรัมย์เป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญสมัยอารยธรรมขอมอย่างพนมรุ้ง และเมืองต่ำ และในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศูนย์กีฬาขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยสโมสรฟุตบอล, สนามแข่งรถ และค่ายมวย
บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต
บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต
จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทราวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์มาก คือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผา, ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-18 อยู่ทั่วไป และพระพุทธรูปมหาปรัชญาปารมิตตา
หลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณ แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองเก่า และปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมืองหนึ่ง และรู้จักในนามเมืองแปะจนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ชื่อเมืองบุรีรัมย์
ไม่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา และธนบุรีเฉพาะชื่อเมืองอื่น ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ เมืองนางรอง, เมืองพุทไธสง และเมืองประโคนชัย พ.ศ. 2319
รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี กรมการเมืองนครราชสีมา มีใบบอกเข้ามาว่า พระยานางรองคบคิดเป็น กบฏร่วมกับเจ้าโอ, เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์ จึงโปรดให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงตำแหน่ง เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพไปปราบจับตัวพระยานางรองประหารชีวิต
และสมทบเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือยกไปตีเมือง จำปาศักดิ์, เมืองโขง และเมืองอัตตะปือ ได้ทั้ง 3 เมือง ประหารชีวิต เจ้าโอ, เจ้าอิน และอุปฮาด เมืองจำปาศักดิ์ แล้วเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆ ใกล้เคียงให้สวามิภักดิ์ ได้แก่ เขมรป่าดง, ตะลุง, สุรินทร์, สังขะ และเมืองขุขันธ์ รวบรวมผู้คนตั้งเมืองขึ้นในเขตขอม เรียกว่า เมืองแปะ แต่งตั้งบุรีรัมย์ และให้บุตรเจ้าเมืองผไทสมันต์แห่งพุทธไธสงเป็นเจ้าเมืองคนแรก ให้นามเจ้าเมืองว่า พระยานครภักดี ปกครองชาวเขมรป่าดง,ชาวลาวเเละชนเผ่าอื่นๆ
ซึ่งพื้นเพของเจ้าเมืองเเปะคนเเรกเดิมมีนามเดิมว่า เพี้ยเหล็กสะท้อน บุตรชายของเพี้ยศรีปากหรือพระยาเสนาสงคราม เจ้าเมืองพุทไธสงคนเเรก (อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์) เพี้ยศรีปากเเละเพี้ยเหล็กสะท้อนเคยเป็นกรมการเมืองในตำเเหน่งเพี้ยโฮงหลวงของเมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ประเทศราชหรือเมืองท่งศรีภูมิ (อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) ก่อนที่ต่อมาเพี้ยศรีปากจะเเยกดินเเดนเมืองสุวรรณภูมิเดิมออกมาตั้งเป็นเมืองพุทไธสงในภายหลัง
เพี้ยศรีปากเป็นบุตรของท้าวพร อัญญาเมืองสุวรรณภูมิบุตรชายของท้าวเซียงเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นเจ้าหลานเเละสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเเก้วมงคลเจ้าเมืองท่งศรีภูมิท่านเเรก อันมีเชื้อสายกษัตริย์ราชวงศ์ล้านช้าง อีกทั้งยังเป็นปฐมบรรพบุรุษของเจ้าเมืองภาคอีสานที่ส่งลูกหลานไปปกครองหัวเมืองอีสานกว่า20หัวเมืองเเละภาคเหนืออีก1หัวเมือง
ได้เเก่ เมืองสุวรรณภูมิราชบุรีประเทษราช (เมืองสุวรรณภูมิ) เมืองร้อยเอ็ด เมืองชลบทวิบูลย์ เมืองขอนแก่น เมืองเพี้ย เมืองรัตนนคร เมืองมหาสารคาม เมืองศรีสระเกษ เมืองโกสุมพิสัย เมืองกันทรวิชัย (เมืองโคกพระ) เมืองวาปีปทุม เมืองหนองหาน (อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี) เมืองโพนพิสัย (อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย) เมืองพุทไธสง (เมืองผไทสมัน) เมืองบุรีรัมย์ (เมืองเเปะ) เมืองเกษตรวิสัย เมืองพนมไพรเเดนมฤค เมืองธวัชบุรี เมืองพยัคฆภูมิพิสัย (เมืองเสือ) เมืองจตุรพักตรพิมาน (เมืองหงษ์) เมืองขามเฒ่า เมืองเปือยใหญ่ (บ้านค้อ) เเละเมืองนันทบุรี (เมืองน่าน) ซึ่งบอกได้ว่าพระยานครภักดีเจ้าเมืองเเปะหรือบุรีรัมย์ท่านเเรกสืบเชื้อสายมาจากเจ้าจารย์เเก้วเเห่งเมืองท่งศรีภูมิเเละพระเสนาสงครามเเห่งเมืองพุทไธสง อีกทั้งยังมีเครือข่ายทางเครือญาติกับหลายหัวเมืองทั่วภาคอีสานร่วม20กว่าหัวเมือง
ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2440-2441 เมืองบุรีรัมย์ได้กลับไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาเรียกว่า "บริเวณนางรอง" ประกอบด้วย เมืองบุรีรัมย์ นางรอง รัตนบุรี ประโคนชัย และพุทไธสง พ.ศ. 2442 มีประกาศเปลี่ยนชื่อ ในคราวนี้เปลี่ยนชื่อ บริเวณนางรองเป็น "เมืองนางรอง"มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ตั้งที่ว่าการอยู่ที่เมืองบุรีรัมย์ แต่ตราตำแหน่งเป็นตราผู้ว่าการนางรอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "บุรีรัมย์" และเปลี่ยนตราตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2444 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มณฑลนครราชสีมาประกอบด้วย 3 เมือง 17 อำเภอ คือเมืองนครราชสีมา 10 อำเภอ, เมืองชัยภูมิ 3 อำเภอ และเมืองบุรีรัมย์ 4 อำเภอ ซึ่งได้แก่ นางรอง, พุทไธสง, ประโคนชัย (ตะลุง) และรัตนบุรี (ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดสุรินทร์)
ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ขึ้น ยุบมณฑลนครราชสีมา จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ เมืองบุรีรัมย์จึงมีฐานะเป็น จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ลูกชิ้นบุรีรัมย์
ตรงหลังสถานีรถไฟใกล้หอนาฬิกา เดิมทีมีร้านขายลูกชิ้นที่เป็นรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างอยู่สองสามเจ้า ปิ้งขายพร้อมมีน้ำจิ้มวางไว้ให้คนยืนจิ้มกินกัน มีผักเป็น กระหล่ำปลีและแตงกวา วางให้แกล้มยืนทานกันตรงนั้นเลย นี่คงเป็นที่มาของคำว่าลูกชิ้นยืนกิน
ร้านป้านก เป็นร้านเก่าแก่ ร้านแรกๆเลย ที่ขายลูกชิ้นยืนกิน ขายมานานกว่า 40 ปี ปัจจุบัน ตกทอดมาจนถึงรุ่นลูกแล้ว เพราะป้านกแก่เสียชีวิตไปนานแล้ว ซึ่งคนที่มารับช่วงต่อจากป้านก คือ "นางรุ่งอรุณ ชนะทะเล" เจ้าของร้านทายาทรุ่นที่ 2
ร้านลูกชิ้นยืนกิน กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ใครมาบุรีรัมย์ ก็ต้องแวะมากินลูกชิ้นยืนกิน จุดสถานีรถไฟบุรีรัมย์ในสมัยก่อน มีร้านลูกชิ้นเป็นรถมอไซด์พ่วงข้างขายลูกชิ้น บางร้านก็เป็นรถเข็น มีแค่2-3เจ้า จะตั้งหม้อน้ำจิ้มใหญ่ไว้ศูนย์กลาง ทุกคนก็ยืนล้อมรถลูกชิ้น พร้อมใจกันจิ้มน้ำจิ้มในหม้อเดียวกัน พร้อมผักแกล้ม กะหล่ำปลีและแตงกวา ยืนล้อมวงกิน กินเสร็จนับไม้แล้วถึงจะจ่ายเงิน
ลูกชิ้นแต่ละร้านก็จะไม่ต่างกันเพราะส่วนใหญ่จะซื้อมาจากโรงงานเหมือนกัน ไม่ได้ทำลูกชิ้นเอง แต่ที่แตกต่างกัน คือ น้ำจิ้ม ดังนั้นความอร่อยจึงอยู่ที่น้ำจิ้ม น้ำจิ้มทั่วไปในบุรีรัมย์ที่หากินได้ง่าย คือ สูตรมะขาม แต่ร้านที่ “ลิซ่า” ชื่นชอบ น่าจะเป็นร้านเจ้พงษ์ ตรงหอนาฬิกาใกล้กับสถานีรถไฟ ร้านนี้เด็ดที่เป็นสูตรน้ำพริกเผา ที่”ลิซ่า” พูดถึง และเขาบอกกันว่า ร้านนี้ ไม่เหมือนกับร้านอื่น ตรงน้ำจิ้มพริกเผา